เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 10 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ซิฟิลิส และวิธีป้องกัน  VIEW : 234    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 256
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 95%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.25.50.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 17:41:12   

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ซิฟิลิส และวิธีป้องกัน

โรค ซิฟิลิส เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบกันบ่อย และสามารถเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว และนี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับการ ติดเชื้อซิฟิลิส เพื่อที่คุณจะได้ระมัดระวังตัวเองได้

โรค ซิฟิลิส คืออะไร

Syphilis เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซิฟิลิสอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง อย่างเช่น โรคข้ออักเสบ สมองเสียหาย และตาบอด

การติดต่อของโรค ซิฟิลิส

คนส่วนใหญ่ติดเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากมีการสัมผัสกับแผลบนร่างกายของผู้ติดเชื้อโดยตรง แผลเหล่านั้นพบได้ตรงส่วนนอกของอวัยวะเพศของผู้ติดเชื้อ ช่องคลอด ทวารหนักหรือในไส้ตรง ในบางกรณี แผลอาจเกิดขึ้นบนริมฝีปากและในปากด้วยเช่นกัน การติดต่อของโรคนี้มักเกิดขึ้นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักและทางปาก และกิจกรรมทางเพศอื่นๆ

ติดต่อได้จากการสัมผัสสิ่งของร่วมกันหรือไม่

เนื่องจากแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของซิฟิลิส จะอ่อนแอเมื่ออยู่ข้างนอกร่างกาย ซิฟิลิสจึงจะไม่มีการลุกลามจากการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน อย่างเช่น โถส้วม อ่างอาบน้ำ ลูกบิดประตู สระว่ายน้ำ และคุณไม่ได้รับเชื้อซิฟิลิสจากการใช้เสื้อผ้าหรือใช้ภาชนะร่วมกันด้วยเช่นกัน

สามารถส่งผ่านไปยังลูกในช่วงตั้งครรภ์ได้หรือไม่

หญิงตั้งครรภ์สามารถแพร่โรคนี้ไปยังเด็กในครรภ์ได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจหาซิฟิลิส เป็นสิ่งจำเป็นในช่วงแรกก่อนการคลอด การตรวจควรทำซ้ำอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 และช่วงคลอด เด็กทารกของผู้หญิงที่เป็นซิฟิลิส มีความเสี่ยงต่อการที่ทารกตายในครรภ์ (stillbirth) และเด็กที่คลอดออกมาเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเด็กที่ติดเชื้อจะรอดมาได้ เด็กทารกยังต้องเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่อาจปรากฏขึ้นมาให้เห็นในหลายสัปดาห์หลังจากนั้น

การติดเชื้อซิฟิลิสป้องกันได้อย่างไร

คุณสามารถลดความเสี่ยงในการสัมผัสซิฟิลิสของคุณได้ โดยการใช้ถุงยางในทุกๆ กิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตาม หากมีแผลซิฟิลิสเกิดขึ้น บริเวณที่ถุงยางไม่สามารถป้องกันได้ การแพร่เชื้อนี้จะยังสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ ดังนั้น คุณควรระมัดระวังแม้ว่าจะใช้ถุงยางแล้วก็ตาม

วิธีที่ได้ผลที่สุดในการหลีกเลี่ยงการเกิดโรคซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ คืองดการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีความสัมพันธ์ระยะยาวกับคู่นอนเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เป็นซิฟิลิส

วิธีการรักษาโรคซิฟิลิส

การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วสามารถรักษาโรคซิฟิลิส ได้ ผู้ติดเชื้อนี้ไม่ถึงปี รับประทานยาเพนนิซิลลินแค่รอบเดียวเท่านั้น หากคุณแพ้ยาเพนนิซิลลิน หมอจะจ่ายยาเททราไซคลีน (tetracycline) ด็อกซีไซคลิน (doxycycline) หรือยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ยิ่งคุณรับการรักษาช้าเท่าไหร่ คุณยิ่งต้องรับประทานยาเพิ่มเท่านั้น คุณไม่ควรทำกิจกรรมทางเพศใดๆ เมื่ออยู่ในระหว่างการรักษา หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นซิฟิลิส คู่นอนของคุณควรเข้ารับการตรวจ และรับการรักษาหากจำเป็น แม้ว่าซิฟิลิสจะไม่เกิดขึ้นซำ้หลังได้รับการรักษาที่เหมาะสม คนๆ นั้นก็ยังอาจมีอาการติดเชื้ออีกครั้งได้ หากเขามีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ

คำถามที่พบบ่อย

1.ซิฟิลิสไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ก็ติดต่อได้

ถึงแม้ว่าโรคนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็สามารถติดต่อด้วยวิธีอื่นได้เหมือนกัน เพียงสัมผัสกับแผลของผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิสเท่านั้น ทั้งนี้แม้แต่การจูบก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ถ้าผู้ป่วยโรคซิฟิลิสมีแผลอยู่ในช่องปาก ดังนั้นไม่ควรคลุกคลีกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคซิฟิลิสเด็ดขาด

2.อาการของโรคซิฟิลิสเป็นอย่างไร

สำหรับอาการของโรคซิฟิลิสจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยจะเริ่มจากเป็นแผลริมแข็งขึ้นมาก่อน จากนั้นจะมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งบางคนก็อาจมีอาการไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อร่วมด้วย แล้วจะเข้าสู่ระยะแฝงโดยหลายคนมักจะเข้าใจว่าหายป่วยแล้ว จนกระทั่งเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งอวัยวะภายในได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตในที่สุด

3.โรคนี้รักษาให้หายขาดได้ไหม

เมื่อเป็นโรคซิฟิลิสหากตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าตรวจพบในระยะสุดท้ายจะรักษาให้หายขาดได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพิการเนื่องจากอวัยวะภายในถูกทำลายและเสียชีวิตลง ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคซิฟิลิสควรรีบพบแพทย์ในทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วนนั่นเอง

4.ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นซิฟิลิส

คนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซิฟิลิสส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีเพศสัมพันธ์โดยเปลี่ยนคู่นอนบ่อยเช่นเดียวกับโรคเอดส์ โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ใส่ถุงยางป้องกัน นอกจากนี้สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือคู่รักที่กำลังจะแต่งงานก็ต้องตรวจหาเชื้อซิฟิลิสก่อนด้วย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับลูกน้อยในครรภ์

5.โรคนี้สามารถป้องกันได้หรือไม่

โรคซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ด้วยการมีเพศสัมพันธ์โดยใส่ถุงยาง และมีคู่นอนเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่สำคัญหากพบความผิดปกติที่คาดว่าน่าจะเสี่ยงเป็นโรคซิฟิลิสควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาได้ทันนั่นเอง

สรุป

ซิฟิลิสเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ที่มีความร้ายแรงเช่นเดียวกันกับโรคเอดส์ ดังนั้นควรระมัดระวังและใส่ถุงยางเพื่อป้องกันก่อนมีเพศสัมพันธ์เสมอ ส่วนคู่รักที่วางแผนจะมีลูกก็ควรไปตรวจสุขภาพให้เรียบร้อยก่อนว่ามีเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เพราะหากตั้งครรภ์ขณะเป็นซิฟิลิสจะทำให้เสี่ยงแท้งได้สูง และลูกน้อยอาจติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด จนส่งผลให้พิการหรือมีพัฒนาการช้าได้ เพราะฉะนั้นควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า

แหล่งที่มา

https://www.sanook.com/health/

https://mydeedees.com/%e0%b8%8b%e0%b8%b4%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%aa-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94-%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5