เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 10 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
“ พ่อเลี้ยงเดี่ยว ” ควรรู้ รวมแนวทางดูแลลูกตามลำพัง  VIEW : 215    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 256
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 95%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.232.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2566 เวลา 13:52:19   

“ พ่อเลี้ยงเดี่ยว ” ควรรู้ รวมแนวทางเมื่อต้องดูแลลูกตามลำพัง

เมื่อวันหนึ่ง “ครอบครัว” ไม่เป็นดังที่ฝันไว้ จำต้องยุติบทบาทของความเป็นสามี ภรรยา อาจเพราะหย่าร้าง หรือฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดเสียชีวิตลง ครอบครัวที่เคยอยู่กันพร้อมหน้า เหลือเพียงพ่อกับลูก หรือแม่กับลูก กลายเป็นคุณแม่หรือคุณ พ่อเลี้ยงเดี่ยว ที่ต้องประคับประคองลูกตามลำพัง

เมื่อต้องอยู่สภาพนี้ คุณแม่คงไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกมากนัก เพราะส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่กับลูก แต่คุณพ่อนี่สิคงต้องปรับตัวอยู่พักใหญ่ และวันนี้ Tonkit360 อาสาพาไปดูกันว่า เวลาที่ “คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว” (Single Dad) ต้องดูแลลูกตามลำพัง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

พูดความจริงกับลูก

คุณไม่ควรปิดบังความจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่ต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพัง เพื่อรักษาความรู้สึกของลูก ดังนั้น คุณควรอธิบายความจริงด้วยคำตอบง่าย ๆ ให้ลูกเข้าใจว่า เหตุใดครอบครัวของคุณเหลือเพียงพ่อกับลูก พร้อมย้ำว่า การที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันนั้น มาจากการตัดสินใจของพ่อแม่เอง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกระทำของลูกแต่อย่างใด ทั้งนี้ การพูดความจริง ไม่ควรตำหนิใครคนใดคนหนึ่งว่า “ไม่ดี” เช่นกัน

สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคุณและลูกให้แน่นแฟ้น

ด้วยการใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากขึ้น เพราะแท้จริงแล้วความผูกพันมิได้เกิดจากการสัญชาตญาณของความเป็นแม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่า ใครที่ใช้เวลาอยู่กับลูกมากที่สุดเท่านั้น หรือจะลองมองหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับลูกได้ อาทิ เล่านิทานก่อนนอน เล่นเกม เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ หรือช่วยกันทำอาหาร

เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างคุณและลูก

นอกจากวิธีทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว คุณอาจคอยถามว่า แต่ละวันลูกได้ทำหรือเจอเรื่องอะไรมาบ้าง เพื่อที่คุณได้อธิบายและคอยช่วยเหลือเมื่อลูกมีปัญหา ที่สำคัญคุณไม่ควรปฏิเสธหรือแสดงอาการหงุดหงิด เมื่อลูกต้องการคุยกับคุณ

ทั้งยังควรพยายามกระตุ้นให้ลูกกล้าที่จะเข้ามาคุยกับคุณ ในเวลาที่เขา/เธอมีเรื่องไม่สบายใจ อาทิ เรื่องความรัก การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย หรือการกลั่นแกล้งที่โรงเรียน

อย่ายอมแพ้ เมื่อลูกพยายามถอยตัวออกห่าง

อาจเป็นเพราะความผูกพันของผู้เป็นพ่อที่ไม่ค่อยได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้บางครั้งลูกพยายามถอยตัวออกห่างทุกครั้งที่คุณพยายามเข้ามา หากเป็นเช่นนี้ ขอให้คุณอย่ายอมแพ้ พยายามเข้าไปคุยกับลูกใหม่ หรืออาจบอกกับลูกก็ได้ว่า “คุณจะยืนอยู่ตรงนี้เสมอ หากลูกมีเรื่องอยากคุย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรคุณก็ยินดีรับฟัง”

เปลี่ยนตัวเองให้เป็น “นักฟัง” ที่ดี มากกว่าเป็น “นักพูด”

การพยายามเป็นนักฟังที่ดี มีประโยชน์ต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของคุณมากเมื่อต้องเปลี่ยนสถานะมาเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว (Single Dad) จะทำให้คุณสามารถรับมือกับเรื่อง/ปัญหาที่ลูกต้องการคุยด้วย แต่คุณต้องฟังเรื่องราวของเขา/เธอให้จบเสียก่อน เพราะบางครั้งลูกของคุณอาจไม่ได้ต้องการคำแนะนำ แต่อาจแค่อยากคุยกับใครซักคนที่เขา/เธอไว้ใจ และพร้อมจะรับฟังเท่านั้น

สร้างความมั่นใจให้แก่ลูก

เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนั้น อาจมีบางคนที่เกิดความรู้สึกวิตกกังวลว่า การที่ครอบครัวเหลือเพียงพ่อกับลูกนั้น ชีวิตความเป็นอยู่อาจแย่ลง ทั้งเรื่องที่พักอาศัย อาหารการกิน สำหรับเรื่องนี้คุณอาจสร้างความมั่นใจให้ลูกง่าย ๆ ด้วยการพูดคุยว่า หลังที่ต้องใช้ชีวิตกันเพียงลำพังคุณวางแผนอะไรไว้บ้าง

พยายามเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูก

การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูก นอกจากเป็นการแสดงความใส่ใจในรูปแบบหนึ่งแล้ว คุณจะรู้ว่า วัน ๆ หนึ่งลูกไปเจออะไรมาบ้าง และช่วยให้คุณรู้จักลูกมากขึ้นในฐานะคน ๆ หนึ่ง อาทิ หากลูกอยู่ในวงดนตรี คุณควรไปดูลูกซ้อมหรือแสดง เป็นต้น นอกจากนี้ คุณควรรู้จักเพื่อนของลูกด้วย ทั้งที่เป็นเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมชั้น หรือเพื่อนที่ทำกิจกรรมด้วยกัน

ปล่อยให้ลูกมีพื้นที่ส่วนตัว

เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้เป็นพ่อมักอยากจะปกป้องลูก แต่การปกป้องลูกมากเกินไป อาจทำให้ลูกของคุณพยายามตีตัวออกห่างก็ได้ ดังนั้น การปล่อยให้ลูกของคุณมีอิสระ มีโอกาสได้ตัดสินใจเลือกเอง จะทำให้เขา/เธอรู้ว่า สิ่งที่ตนเลือกนั้น มีผลดี ผลเสียกับตนอย่างไรบ้าง และบางครั้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จะทำให้เขา/เธอ ได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองเช่นกัน

กำหนดขอบเขตระหว่างคุณกับลูก

ไม่ใช่แค่ “ผู้เป็นลูก” เท่านั้นที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว แม้แต่คุณซึ่งเป็นพ่อก็ต้องการความเป็นส่วนตัวเช่นกัน ฉะนั้น คุณควรคุยกับลูกให้เข้าใจและรับรู้ว่า ช่วงใดที่คุณต้องการความเป็นส่วนตัวสำหรับตัวเองบ้าง

สรุป

พ่อเลี้ยงเดี่ยวควรหาเวลาพักผ่อนให้ตัวเอง ด้วยการฝากลูกให้อยู่ในการดูแลของคนในครอบครัว หรือพี่เลี้ยงบ้างเพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อผ่อนคลายจากความเครียดและปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และพยายามมองโลกในแง่บวกว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขและจะผ่านไปได้ด้วยดี

สิ่งที่เรานำมาฝาก อาจไม่ใช่คำแนะนำที่ดีที่สุด แต่เชื่อว่า บางเรื่องหากคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อาจช่วยทำให้ครอบครัวของคุณอบอุ่น แม้วันนี้จะเหลือเพียงครึ่ง

แหล่งที่มา

https://hellokhunmor.com/

https://mydeedees.com/%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7-%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5