เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 10 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
โรคแพนิค อาการเหล่านี้ คุณเป็นหรือเปล่า  VIEW : 208    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 256
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 95%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.232.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 31 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2566 เวลา 17:59:22   

โรคแพนิค อาการเหล่านี้ คุณเป็นหรือเปล่า

หากคุณมีอาการใจสั่น กลัวเหตุการณ์บางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถห้ามตัวเองได้ แถมยังรู้สึกทรมานมากขึ้นด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ โรคแพนิค (Panic Disorder)” แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะโรคนี้รักษาได้

โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร

ถ้าใครไม่รู้จักโรคนี้ฟังอาการดูแล้ว อาจจะรู้สึกแปลกนิดหน่อย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ อาการเหล่านี้น่ากลัวไม่ใช่น้อยเลย อาการที่ว่าคือ

  • อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจขัดข้อง ไม่สบายท้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาการเกิดขึ้นประมาณ 15-20 นาทีแล้วค่อย ๆ หายไป
  • เกิดความกังวลว่าตนเองกำลังจะเป็นอะไรไปรึเปล่า บางคนรู้สึกเหมือนว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บางคนอาจจะคิดว่าตนเองกำลังมีอาการของโรคหัวใจ และกำลังจะตายรึเปล่า
  • บางคนอาจพยายามโทรหาคนที่ใกล้ชิด เพื่อให้พาไปโรงพยาบาล แต่พอไปถึงโรงพยาบาล แพทย์ตรวจดูกลับไม่พบความผิดปกติอะไร หัวใจเต้นเป็นปกติดี ยิ่งทำให้งงไปกันใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้น พอกลับบ้านมาไม่กี่วันก็มีอาการแบบเดิมอีก
  • บางคนไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะมีอาการขึ้นมาอีก แล้วถ้าเป็นอะไรไปจะไม่มีใครช่วยได้

อาการแบบนี้จริง ๆ แล้วสามารถพบได้ในหลายโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการเช่นนี้ ซึ่งสารกระตุ้นที่พบบ่อยก็คือ คาเฟอีน แต่ถ้าตรวจไม่พบอาการผิดปกติจากโรคเหล่านี้ คุณก็อาจจะเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder)

สาเหตุการเกิดโรคแพนิค

โรคนี้มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น โรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ทำงานผิดปกติไป ถ้าจะเปรียบเหมือนรถยนต์ก็เรียกได้ว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานรวนไป เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายส่วน อาการที่เกิดขึ้นจึงเกิดหลายอย่างพร้อมกันทั้งการเต้นของหัวใจ การหายใจ การออกของเหงื่อ ฯลฯ การทำงานของระบบดังกล่าวต้องอาศัยสารเคมีในสมองเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน

อาการของโรคแพนิค

โรคแพนิค หรือบางคนอาจเรียกว่า “โรคตื่นตระหนก” เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว และพบไม่น้อยเลย แต่คนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จัก แม้กระทั่งเมื่อเป็นโรค ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิด อาจไม่ทราบด้วยว่า อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้น เป็นอาการของโรคแพนิคที่รักษาได้ อาการของโรคแพนิคนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือไม่เต็มอิ่ม บางรายอาจวิงเวียน ท้องไส้ปั่นป่วน มือเท้าเย็นชารู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ จากนั้นจะเริ่มรู้สึกกลัวเหมือนตัวเองกำลังจะตาย หรือจะเป็นบ้า อาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่และสงบลงในเวลาประมาณ 10 นาที บางรายอาจนานกว่านั้น แต่มักไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะเป็นซ้ำ ๆ โดยมีสิ่งกระตุ้นหรือไม่มีก็ได้  แพทย์ก็มักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก

ผลกระทบต่อร่างกายหากไม่ได้รับการรักษา

หากไม่ได้รับการรักษาและอธิบายให้เข้าใจ ตัวโรคจะไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ผู้ป่วยจะทรมานจากอาการและดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความวิตกกังวลตลอดเวลา กลัวที่จะต้องอยู่ในที่ที่ไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือได้เมื่อมีอาการ ทำให้ไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว หรือกลัวที่จะทำกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้อาการแพนิคกำเริบขึ้นทันที  เช่น  ข้ามสะพานลอย ขึ้นลิฟต์ หรือขับรถ และอาจพบภาวะอื่น ๆ ตามมา ที่พบบ่อยคือ ภาวะซึมเศร้าจากการมีอาการและไม่ทราบว่าตัวเองเป็นอะไรแน่ กลัวว่าจะตายจากโรค ทำให้ผู้ป่วยเริ่มท้อแท้

การรักษา โรคแพนิค

ยาที่ใช้รักษามี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ  คือ

ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว เมื่อเกิดอาการขึ้นมา ให้รีบกินแล้วอาการจะหายทันที เป็นยาที่รู้จักกันในชื่อ ยากล่อมประสาท หรือยาคลายกังวล  ยาประเภทนี้ ถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ จะเกิดการติดยาและเลิกยาก

ยาที่ออกฤทธิ์ช้านั้น จะต้องกินต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล สามารถป้องกันโรคได้ในระยะยาว เพราะยาจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมอง  ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า  แต่จะไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหาย

สำหรับการรักษาด้วยยา ในช่วงแรก ๆ  แพทย์จะให้ยาทั้ง 2 กลุ่ม คือ เนื่องจากยาที่ออกฤทธิ์ช้านั้น  ยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ จึงต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์เร็วควบคู่กันไปด้วย เมื่อยาที่ออกฤทธิ์ช้านั้นได้ผล แพทย์จะลดการกินยาที่ออกฤทธิ์เร็วให้น้อยลง เมื่อผู้ป่วย “หายสนิท” คือ ไม่มีอาการเลย มักให้กินยาต่อไปอีก 8-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อหยุดยาไปแล้วสักพัก ก็ไม่เป็นไร แค่เริ่มต้นรักษาเหมือนเดิม

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการแพนิคกำเริบ

  1. หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ  และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
  2. มียาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้ กินเมื่ออาการเป็นมาก
  3. ฝึกการผ่อนคลายอื่นๆ  เช่น  ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกต่าง ๆ ที่ช่วยให้มีความสุข

หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?

โรคแพนิค (Panic disorder) ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 

การรักษาด้วยยา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยา เพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

การรักษาทางใจ

คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต
  • การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ
  • การฝึกสมาธิ
  • การฝึกคิดในทางบวก

สรุป

ในยุคปัจจุบันที่เราอาจใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบ และ ต้องเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บีบคั้นเรามากขึ้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดสะสมที่ส่งผลกระทบกับจิตใจของเราได้อย่างไม่รู้ตัว

ทำให้บางคนมีอาการต่าง ๆ เช่น ใจสั่น ใจเต้นแรง ซึ่งมักทำให้ยิ่งตกใจมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยเราได้อย่างแรกคือตั้งสติให้ได้มากที่สุด และเมื่ออาการดังกล่าวหมดไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาสาเหตุ เพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่ต้องกังวลใจกับอาการนั้น ๆ อีก

แหล่งที่มา

https://www.praram9.com/

https://hellokhunmor.com/  

https://mydeedees.com/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89-%e0%b8%84/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5