เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 10 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง  VIEW : 175    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 193
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 11
Exp : 23%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.69.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 21:22:39   

แนวโน้ม ไข้เลือดออก ประจำปี66 เอื้อให้เกิดการระบาดสูง

แนวโน้มสถานการณ์ “ ไข้เลือดออก ปี 2566” ส่อเค้าระบาดรุนแรง ตั้งแต่เริ่มเข้าฤดูฝนที่ตกกระจายหลายพื้นที่ “เกิดน้ำท่วมขัง” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะนำเชื้อไวรัสสู่คนติดต่อกันสูงขึ้นเรื่อยๆ

ตามข้อมูล “กระทรวงสาธารณสุข” ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 มิ.ย.2566 มีผู้ป่วยแล้ว 19,503 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 29.47 คน จำนวนผู้ป่วยปีนี้มากกว่าปี 2565 ช่วงเดียวกัน 3.8 เท่า “การระบาดสูงขึ้นรอบ 3 ปี” ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 รายนั้นก็แปลว่ามีผู้ป่วยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 928 ราย และเสียชีวิตสัปดาห์ละ 1 ราย

แล้วสถิติของผู้ป่วยเสียชีวิตจาก “ไข้เลือดออก” ก็มักพบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ทำให้ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 22 ประเทศสิงคโปร์ ได้มีมติร่วมกันกำหนดให้วันที่ 15 มิ.ย.ของทุกปีเป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” (ASEAN Dengue Day)

เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศตระหนักในการป้องกันโรคร่วมกันนี้ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา บอกว่าจริงๆแล้วไข้เลือดออก เป็นโรคระบาดประจำถิ่นภูมิภาคเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาอย่าง “ประเทศไทย” ที่มีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานพอสมควร

ส่วนใหญ่ “ระบาดเขตชุมชนเมือง” ที่มีปัญหาระบบจัดการแมลงสังเกตจากพื้นที่เขตอำเภอขยายตัวหนาแน่น “มักมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงกว่าอำเภอชนบท” เพราะชุมชนเมืองมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และแถมขาดการ จัดการแหล่งน้ำขังให้มีประสิทธิภาพ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามมานั้น

แล้วด้วยสภาพความแออัดนี้ “ยุงลายมีเชื้อไวรัสมักบินไปกัดคนได้เป็นวงกว้าง” ทำให้มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยุงลายยังมีจุดเด่นคือ “ไข่ยุงลาย” สามารถทนอยู่ในสภาวะแห้งแล้งได้เป็นปี “พอฤดูฝนวนกลับมาอีก” ความชื้นเหมาะสม ไข่นั้นก็จะฟักเป็นลูกน้ำกลายเป็นยุงลายมีช่วงชีวิต 42 วัน

ทำให้การจัดการป้องกัน “โรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องยากพอสมควร” ดังนั้นประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกซ้ำซากแต่ละปี “ควรขัดล้าง ภาชนะที่เคยมีน้ำขังตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝน” เปลี่ยนน้ำในภาชนะ เปิดและคว่ำภาชนะไม่ใช้แล้วไม่ให้เป็นแหล่งวางไข่ยุงลายในรัศมี 100 เมตรที่อาจส่งต่อเชื้อไข้เลือดออกจากรุ่นสู่รุ่นได้

หนำซ้ำหาก “คนในชุมชนป่วยไข้เลือดออก” หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเร่งเข้าควบคุมนับตั้งแต่มีผู้ป่วยรายแรก “อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น” เพราะจะขยายการระบาดของโรคแบบก้าวกระโดดจนควบคุมได้ยาก

ปัญหามีอยู่ว่า “การควบคุมโรค” เดิมเป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และถ่ายโอนภารกิจกระจายอำนาจให้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เพราะมีทรัพยากรบุคคลเพียงพอในการดูแลสุขาภิบาล จัดการลูกน้ำยุงลาย การพ่น หมอกควัน และการจัดการแหล่งน้ำขังทำคูคลองให้สะอาดไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนี้

“ปรากฏว่าขาดการบูรณาการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกจริงจัง ส่งผล ให้การควบคุมโรคนั้นไม่เป็นอย่างที่คาดหวังเอาไว้ ด้วยโรงพยาบาลตั้งรับผู้ป่วยแต่กลับไม่รายงานต่อท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถควบคุมโรค ฉีดพ่นควันกำจัดยุงลาย หรือหาวิธีป้องกันได้ภายใน 24 ชม. จนบางครั้งโรคเกิดการระบาดขยายเพิ่มขึ้น” นพ.สุภัทรว่า

ตอกย้ำด้วย “อันตรายของไข้เลือดออก” ปัจจุบันผู้ป่วยสูงขึ้นในจำนวนนี้ 100 คนต้องมีอาการรุนแรง 1-2 คน ด้วยอาการเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกในอวัยวะ หรือบางคนไข้ลดแต่มีเหงื่อ ตัวเย็น จนช็อกมีโอกาสเสียชีวิตได้

ไม่เท่านั้น “ไข้เลือดออกเป็นเหมือนโรคประหลาด” ผู้เคยติดเชื้อรักษาหายสามารถติดเชื้อซ้ำได้ “ครั้งถัดไปมักมีอาการหนักมากกว่าครั้งก่อน” สาเหตุจากไข้เลือดออกมีสายพันธุ์ย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่การติดเชื้อไวรัสแต่ละครั้งจะต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ทำให้การติดเชื้อครั้งถัดไปมักมีอาการรุนแรงกว่าเดิมเสมอ

นอกจากนี้ แม้ว่า “การได้รับเชื้อไข้เลือดออกครั้งแรก” ทำให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันแต่หากรับเชื้อไวรัสครั้งที่ 2 “ภูมิต้านทานจะออกมาต่อสู้กับ เชื้อไวรัสนั้น” มักสามารถป้องกันได้เพียงสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว ทำให้ร่างกาย เกิดอาการสับสนทำงานได้ไม่ดี จนไม่อาจสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างทันเวลา

ผลคือทำให้บางรายมีไข้สูง ระบบหลอดเลือดเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์จนน้ำหลอดเลือดรั่วไหลไปยังเนื้อเยื่อ “เกิดการขาดน้ำช็อก” สิ่งนี้เป็นสาเหตุของ การติดเชื้อครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อมารุนแรง ถ้าแก้ไขไม่ทันก็มีความเสี่ยงต่อการ เสียชีวิตได้ ดังนั้น มาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นหัวใจสำคัญที่สุด

สำหรับปีนี้กำลังเข้าสู่ “ฤดูฝน” อันเป็นจุดเริ่มต้นการระบาดของโรคเท่านั้น “ส่วนตัวไม่มีข้อมูลผู้ป่วย” แต่ปกติการระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นลักษณะปีนั้นระบาดหนักแล้วจะเว้นไปอีก 2 ปี ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมุ่งเน้นในการป้องกันโรคล่วงหน้า ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน ชุมชน สถานที่สำคัญต่างๆ

สิ่งที่น่าห่วงคือ “ชุมชนเขตเมือง” โดยเฉพาะ กทม.เพราะในช่วงโควิด-19 เห็นช่องว่างการจัดการการป้องกันควบคุมโรคระบาดได้น้อย เพราะขาดระบบอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพฯ (อสส.) และ จนท.สาธารณสุข ดูแลชุมชนไม่ครอบคลุมประชากร ด้วยพลัง อสส.ค่อนข้างมีน้อย ส่งผลให้ความสามารถการควบคุมโรคลดลงตามมา

ในส่วน รพ.ของรัฐถ้าเทียบมาตรฐาน 1 อำเภอ ต้องมี 1 โรงพยาบาลดูแลประชากร 6-7 หมื่นคน แต่ กทม.บางเขตพื้นที่ไม่มี ทำให้ต้องพากัน

พึ่งพา รพ.มหาวิทยาลัย หรือ รพ.เอกชน แล้วการระดมกำลังป้องกันรับมือโรคระบาดทำได้ยากเพราะ อสส.มีงานประจำวันต้องทำ จนใช้เงินจ้างเสียงบประมาณ แต่ประสิทธิภาพที่ได้มาก็ไม่ดีนัก

ถัดมาในส่วน “วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก” ที่ผ่านมาหลายองค์กรพยายาม ศึกษาวิจัยการผลิตวัคซีนมาตลอด “แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ” ทำให้ยังต้องอยู่ ในบริบทการป้องกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ใช้งบประมาณต่อปีมากพอสมควร ดังนั้น ในอนาคตอาจให้ความสำคัญกับการระบายน้ำ และการวางผังเมืองให้ดี

โดยเฉพาะ “ชุมชนแออัดในเขต กทม.” มักมีปัญหาความเหลื่อมล้ำจำเป็น ต้องจัดการสุขาภิบาลให้เป็นมาตรฐาน “มิเช่นนั้น กทม.จะคงครองแชมป์ผู้ป่วย ไข้เลือดออกต่อไปเรื่อยๆ” แล้วเรื่องนี้ก็ไม่ใช่มีปัญหาเฉพาะการควบคุมโรคเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาน้ำท่วม อาชญากรรม หรือปัญหาสังคมอื่นๆตามมามากมายด้วย

เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า “ระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง” ควรต้อง ได้รับการพัฒนาปรับปรุงหลายมิติ เบื้องต้น “ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.” ก็มีส่วนสำคัญในการรับหน้าที่ภารกิจดำเนินการปรับปรุงระบบสาธารณสุข กทม. เรียบร้อยแล้ว และถ้ารัฐบาลชุดใหม่สนับสนุนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพดีมากขึ้น

ถ้าเปรียบเทียบกับ “ประเทศพัฒนาเขตร้อน” อย่างเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ก็เคยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกรุนแรง แต่เมื่อ “รัฐบาล” มีการทุ่มเท บริหารจัดการสุขาภิบาล วางผังเมืองที่ดี และสร้างวินัยให้ผู้คนในการดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและชุมชน ทำให้การระบาดของโรคลดลงตามลำดับ

เรื่องที่น่าสนใจคือ “สิงคโปร์ทำยุงลายเป็นหมัน” ด้วยการตัดต่อพันธุกรรม ปล่อยยุงตัวผู้ที่ถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการออกไปหายุงตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ เมื่อไข่ยุงฟักออกมาเป็นตัวจะไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อได้

สุดท้ายนี้ปัจจุบัน “ไข้เลือดออกไม่มียารักษาโดยตรง” ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ ป้องกันภาวะช็อก หรือรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น จนแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 100 ราย

สรุป

ดังนั้น “ประชาชนควรตระหนักรู้กับไข้เลือดออก” เมื่อมีอาการไข้สูง ขึ้นเร็ว และอาเจียนโดยไม่มีไอน้ำมูกควรต้องไปโรงพยาบาลเข้าระบบป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่แล้วโรงพยาบาลก็ต้องประสานแจ้งชุมชนตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รพ.สต. เพื่อตรวจเช็กทำการควบคุมโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และฉีดพ่นฆ่ายุงลายนั้น

หากทำได้เร็ว “ย่อมไม่มีผู้ป่วยรายต่อไปในชุมชน” แล้วถ้าทำแบบนี้ ได้ภายใน 5-10 ปี “จำนวนไข้เลือดออกจะลดน้อยลงเรื่อยๆ” เพราะการป้องกันโรคระบาดมักต้องการระบบ และความร่วมมือในการช่วยกัน ย้ำต่อว่าตอนนี้ “การป้องกันไข้เลือดออกไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว” ต้องใช้วิธีการบูรณาการร่วมกันอันมีสิ่งสำคัญคือ “ประชาชนตระหนักรู้” เพื่อจะสามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ได้เร็วที่สุด.

แหล่งที่มา
https://www.thairath.co.th/

https://mydeedees.com/%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%a1-%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5