อ้างอิงกระทู้ (Quote Tpoic ID) 59910 โพสแล้ว (By) หยาด :
จิตอาสา ม.เกษมบัณฑิต ช่วยกำจัดขยะ และพัฒนาชุมชน
จิตอาสา ม.เกษมบัณฑิต ช่วยกำจัดขยะ ในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ย่อมส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ที่ชุมชนได้รับผลกระทบในหลากหลายมิติ และหนึ่งในปัญหาหลักที่เกาะติดสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย หรือคนในระดับฐานรากของประเทศ คือรายได้ในการที่จะนำไปจุนเจือครอบครัว
จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จึงผนึกพลังร่วมกับชุมชน
“หลวงพรตท่านเลี่ยม” (หัวตะเข้) เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ จัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชน” ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นปี 2566 เพื่อระดมแนวคิดสำหรับการสร้างรายได้ให้ชุมชนในนาม “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักหัวตะเข้” โดยมีอาจารย์ และนักศึกษา ร่วมยกระดับ และพัฒนา เพื่อนำไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และครอบครัว
“กี้” น.ส.วากีอ๊ะห์ อาดำ นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เล่าว่า ในฐานะนักศึกษามีความมุ่งมั่นว่าวันหนึ่ง ถ้ามีโอกาสจะขอเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ด้วยการนำความรู้จากการศึกษาในห้องเรียน และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ เมื่อคณาจารย์ และเพื่อนนักศึกษา ตลอดจนผู้นำชุมชนได้ตกผลึกทางคิด สำหรับการพัฒนา และยกระดับชุมชน ผ่าน กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชนด้วยการกำจัดขยะ เพื่อยกระดับไปสู่วิสาหกิจชุมชนที่ได้มาจากการแปรรูปขยะที่จิตอาสาเก็บรวบรวม จากการร่วมกิจกรรมดังกล่าว พบว่าชาวบ้านยังขาดโอกาสสร้างราย โดยเฉพาะช่องทาง และนวัตกรรมใหม่ รวมทั้ง การบริหารจัดการ แต่เมื่ออาจารย์ และนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม ชุมชนจึงขับเคลื่อนเพื่อสร้างรายได้ผ่านผลิตภัณฑ์การแปรรูปได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
อาจารย์จันทณา ศรีสนั่น อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า
การจัดกิจกรรมจิตอาสากำจัดขยะ เป็นหนึ่งในพันธกิจการบริการทางวิชาการแก่สังคม กิจกรรมมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพัฒนาภายใต้มิติของจิตอาสาพัฒนาชุมชน ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการบริหารจัดการทางการตลาด และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ที่กระจายอยู่ในชุมชน ผลจากการจัดกิจกรรม ส่งผลให้ชุมชนมีสินค้า หรือผลิตที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และจากการติดตามผลการดำเนินงานพบว่า ชุมชน และครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปิดท้ายที่ นางอำภา บุณยเกตุ ประธานวิสาหกิจชุมชนคนรักหัวตะเข้ เสริมว่า ไม่มั่นใจว่าการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มาจากขยะจะทำได้หรือไม่ แต่เมื่ออาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ชาวบ้านตื่นตัวที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งนี้ การพัฒนา หรือแปรรูปขยะ หรือสิ่งเหลือใช้มาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน จึงเกิดผลในเชิงประจักษ์ ว่ากิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเข้าช่วย เป็นหนึ่งในช่องทางสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ซึ่งถือเป็นกลุ่มฐานรากของประเทศ เหนือไปกว่านั้น กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยลดโลกร้อน และแก้ไขปัญหามลพิษที่นับวันจะมากขึ้นตามลำดับ
สรุป
การมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ ภายใต้การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ และสร้างสรรค์ จึงเป็นหนึ่งในมิติของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย ที่ไม่เพียงแต่จะสอนนักศึกษาเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/
https://have-a-look.net/2023/07/31/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2-%e0%b8%a1-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%a7/