เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
สิ่งที่ควรรู้ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ( CVS )  VIEW : 422    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 256
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 95%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 180.180.232.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์ ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 12:32:50   

สิ่งที่ควรรู้ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ( CVS )

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน หลายคนที่นั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ติดกันเป็นเวลานานอาจมีอาการปวดเมื่อยตา ตาแห้ง แสบตา เคืองตา ตาพร่ามัว ซึ่งอาจบ่งบอกว่ากำลังเสี่ยงกับกลุ่มอาการที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome ( CVS ) ซึ่งแม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อดวงตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้

คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ดิจิทัลใด ๆ เป็นเวลานานเกินไป โดยอาจทำให้มีอาการตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง ระคายเคืองตา เจ็บตา รวมไปถึงปวดศีรษะและปวดไหล่ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้นหากจ้องหน้าจอในที่ที่มีแสงน้อย หรือมีท่าทางที่ไม่เหมาะสมในขณะใช้คอมพิวเตอร์

รู้จักกับ CVS

Computer Vision Syndrome (CVS) คือ กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการใช้งานและจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะมีอาการ Computer Vision Syndrome อย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจเป็นร่วมกันจนส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตในแต่ละวัน

อาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลที่มีหน้าจอต่าง ๆ นั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อดวงตาในระยะยาวหรือไม่ แต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำอาจเสี่ยงทำให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • ตาล้า
  • ระคายเคืองตา
  • ตาแห้ง ตาแดง
  • ตาพร่า
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดคอหรือปวดหลัง

หากผู้ป่วยมีอาการดังข้างต้น ควรรีบหาทางรักษาหรือแก้ไข เพราะการใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ นั้น ไม่เพียงก่อให้เกิดอาการเกี่ยวกับดวงตา แต่อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ จากการใช้งานและการอยู่ในท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานได้

 

สาเหตุของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

ขณะทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ ดวงตาของคนเราต้องปรับโฟกัสภาพใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะต้องเคลื่อนไหวไปมาตามบรรทัดตัวหนังสือที่อ่าน หรือต้องเลื่อนดูเนื้อหาบนหน้าจอสลับไปมาและตอบสนองต่อภาพที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สมองประมวลผลภาพเหล่านั้น ในระหว่างนี้กล้ามเนื้อดวงตาจึงต้องทำงานอย่างหนัก ซึ่งมากกว่าการอ่านหนังสือธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอคอมพิวเตอร์มีการตัดกันของสีต่าง ๆ และมีการสั่นไหวของพิกเซลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ หลายจุดที่ประกอบขึ้นเป็นภาพ และผู้ใช้งานยังต้องเพ่งสายตาเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้เสี่ยงเกิดอาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ตามมาได้

 

นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่าการใช้สายตากับอุปกรณ์ดิจิทัลเสี่ยงทำให้ตาแห้งและระคายเคือง เนื่องจากขณะจ้องหน้าจอ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือบนจอดิจิทัล คนเราจะกะพริบตาน้อยลงกว่าปกติถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยกะพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อนาที ซึ่งการกะพริบตานั้นจำเป็นต่อดวงตาอย่างมาก เพราะจะช่วยให้น้ำตาไหลออกมาหล่อเลี้ยงทั่วดวงตา ช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นและไม่ระคายเคืองได้ง่าย

 

ส่วนความเสี่ยงต่อภาวะคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม นั้นจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามอายุด้วย เนื่องจากเลนส์แก้วตาของคนเราจะค่อย ๆ สูญเสียความยืดหยุ่นเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้อาจสามารถโฟกัสวัตถุระยะใกล้ไกลได้น้อยลงเมื่ออายุราว ๆ 40 ปี และทำให้เริ่มมีสายตายาวในช่วงอายุดังกล่าว และหากผู้ใดมีปัญหาทางสายตาอยู่แล้วอย่างสายตาสั้นหรือสายตาเอียง มีความผิดปกติของสายตาแต่ไม่ยอมใส่แว่น หรือไม่ทำตามหลักการใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องก็เสี่ยงเกิดภาวะคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ได้มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน

 

การวินิจฉัยคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

หากมีอาการเข้าข่ายคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม แพทย์จะสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงของภาวะนี้ จากนั้นอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพตาหรือตรวจสายตา และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

การรักษาคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

ในกรณีที่อาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เกิดจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาโรคนั้น ๆ เป็นอันดับแรก ส่วนการบรรเทาอาการของภาวะ CVS และป้องกันอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมานั้น ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเองเพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

 

  • หมั่นพักสายตาเป็นระยะ โดยใช้กฎ 20-20-20 ที่ให้พักสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที ด้วยการมองออกไปที่ระยะ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลาประมาณ 20 วินาที
  • เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ ให้หยุดพักเป็นเวลาประมาณ 15 นาที ในทุก 2 ชั่วโมง
  • พยายามกะพริบตาบ่อย ๆ เพื่อคงความชุ่มชื้นของดวงตา ป้องกันตาแห้งและระคายเคือง และอาจใช้ยาหยอดตาเมื่อรู้สึกตาแห้ง
  • ใช้ฟิล์มติดหน้าจอกันแสงสะท้อน และปรับสภาพแสงโดยรอบให้สมดุลกับหน้าจอ โดยหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานบริเวณที่มีแสงสว่างจากภายนอกจ้าเกินไป ส่วนแสงไฟภายในห้องที่สว่างหรือมืดเกินไปก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน จึงควรระวังไม่ให้แสงจากหน้าจอสว่างหรือมืดกว่าแสงโดยรอบมากเกินไป
  • ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยให้หน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 10-15 องศา และอยู่ห่างจากสายตาประมาณ 20-28 นิ้ว ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องยืดคอและไม่ต้องเพ่งสายตาดูจอ หากต้องดูเอกสารไปด้วย ควรหาที่ตั้งเอกสารข้าง ๆ คอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้ไม่ต้องมองจอและก้มมองโต๊ะสลับกันไปมา
  • ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอให้มองเห็นชัดเจน รวมทั้งปรับแสงสว่างและความคมชัดให้สบายตามากที่สุด
  • หากใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ควรเว้นช่วงหยุดพักตาแล้วใส่แว่นแทนบ้าง เพราะคอนแทคเลนส์ทำให้ตาแห้งและระคายเคืองได้ง่าย
  • ไปตรวจวัดสายตาเป็นประจำ หากมีสายตาผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ บางรายอาจต้องใส่แว่นสำหรับการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแว่นกรองแสง ลดการตัดกันของแสง และช่วยให้มองหน้าจอได้อย่างสบายตาขึ้น
  • คอยระวังการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของเด็ก ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับที่เหมาะสม แสงสว่างภายนอก ภายในบ้าน และหน้าจอมีความสมดุลกัน รวมทั้งพาเด็กไปตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  •  
  • ภาวะแทรกซ้อนของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
  • อาการของ CVS มักไม่ส่งผลร้ายแรงใด ๆ ในระยะยาว แต่อาจรบกวนการทำงาน ทำให้รู้สึกเหนื่อยและมีสมาธิน้อยลง ซึ่งส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ในที่สุด
  •  
  • การป้องกันคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
  • การป้องกันภาวะ CVS ทำได้เช่นเดียวกับวิธีรักษาบรรเทาอาการ โดยปรับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ หมั่นหยุดพักสายตา กะพริบตาบ่อย ๆ และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมและท่าทางให้เหมาะสม

 

การป้องกัน

  1. ควรพักสายตาทุก 20 นาที ด้วยการมองไปที่ไกลจากหน้าจอ 20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
  2. ตั้งจอคอมพิวเตอร์ห่างจากตาอย่างน้อย 20-24 นิ้ว
  3. ปรับมุมของจอให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 14-20 องศา ปรับตำแหน่งของจอเพื่อลดแสงสะท้อน
  4. ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือหน้าจอที่ช่วยลดแสงสะท้อน
  5. เลือกใช้จอมอนิเตอร์ที่ช่วยถนอมสายตา
  6. ปรับความสว่างของจอ และห้องให้เหมาะสม กะพริบตาถี่ขึ้น ประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที โดยต้องกะพริบตาให้เปลือกตาปิดสนิท

สรุป

โดยจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมสามารถป้องกันได้ง่าย เพียงเราปรับพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม ก็จะทำให้ไม่เกิดโรคและมีความสุขในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด

แหล่งที่มา

https://www.pobpad.com/ 

https://mydeedees.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89-cvs/







Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : จำกัดขนาด 100 KB *เฉพาะไฟล์ .jpg, .jpeg, .gif หรือ .png เท่านั้น
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
 

Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5