เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน

[admin]
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> การจัดการเรียนการสอน >>
หวั่นประเทศไทยตกขบวน เปิดมูลค่าเศรษฐกิจอวกาศ  VIEW : 497    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 858
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 23
Exp : 77%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 118.175.251.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 12:16:04   

หวั่นประเทศไทยตกขบวน เปิดมูลค่าเศรษฐกิจอวกาศ 16 ล้านล้าน

เปิดมูลค่าเศรษฐกิจอวกาศปี 2565 แตะ 16 ล้านล้านบาท เฉพาะท่องเที่ยวทะลุ 3,500 ล้านบาท เป็นห่วงไทยจะเกาะขบวนได้หรือไม่ หลังมูลค่าลงทุนด้านเทคโนโลยีลดลงต่อเนื่อง จำนวนสตาร์ตอัพและยูนิคอร์นมีน้อย คนไทยขาดทักษะด้านภาษาและไอซีที โดยคนไทย 100 คนเขียนโปรแกรมได้ 1 คน ต้องนำเข้าแรงงานไอซีทีชั้นสูง ทั้งจากปากีสถาน บังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศยากจนกว่า แต่สร้างคนได้

นายอธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยในวงเสวนา “New Space Economy : Creating the Future of Thai Digital Economy with Space Technology” ว่า แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา มูลค่าของเศรษฐกิจอวกาศหรือ Space Economy มีแต่เติบโตเพิ่มขึ้น โดยเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา มูลค่าเศรษฐกิจอวกาศขยับขึ้นไปแตะ 464,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 16 ล้านล้านบาท และมากกว่า 80% ของบิ๊กดาต้า (Big Data) หรือข้อมูลขนาดใหญ่บนโลกใบนี้ คือบิ๊กดาต้าที่เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Big Data) โดยข้อมูลชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมหาศาลในแต่ละวัน จากโทรศัพท์มือถือ, IoT sensors, โดรน, ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น

“ปัจจุบันตลาดการส่งข้อมูล (Satellite-Based Data) คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ของมูลค่าเศรษฐกิจอวกาศทั้งหมดหรือประมาณ 150,000 ล้านเหรียญฯ นอกจากนั้น เป็นธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตดาวเทียมมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านเหรียญฯ ส่วนที่เหลือเป็นมูลค่าธุรกิจท่องเที่ยวทางอวกาศ (Space Tourism) ที่กำลังมาแรง

ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านเหรียญฯ หรือราว 3,500 ล้านบาท ปัญหาคือประเทศไทยจะสามารถฉกฉวยโอกาสเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจอวกาศได้อย่างไร และจะยืนอยู่ตรงไหนได้บ้าง”

นายอธิปกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาเรื่องคน ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและทักษะด้านดิจิทัล จากการวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ของคนไทย เมื่อปี 2565 ในบรรดา 113 ประเทศทั่วโลก พบไทยอยู่ในอันดับที่ 97 ขณะที่ความสามารถไอซีทีพื้นฐาน (Basic) ความสามารถไอซีทีระดับมาตรฐาน (Standard) และความสามารถด้านไอซีทีระดับสูง (Advanced) อยู่ที่ 52%, 42% และ 1% ตามลำดับ นั่นแสดงให้เห็นว่าในบรรดาคน 100 คน

มีคนไทยที่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าทักษะไอซีทีระดับสูงอยู่เพียง 1 คน ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ที่ 10 คน สหรัฐอเมริกาที่ 16 คน สิงคโปร์ 9 คน กำลังคนและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล

ยังสะท้อนผ่านตัวเลขการลงทุนด้านเทคโนโลยีของไทยที่กำลังลดลงเรื่อยๆ จากจำนวนสตาร์ตอัพและสตาร์ตอัพระดับยูนิคอร์น (มีมูลค่าบริษัทเกิน 1,000 ล้านเหรียญฯ)

โดยในครึ่งแรกของปี 2565 ไทยมีตัวเลขการลงทุนด้านเทคโนโลยี 2% ของการลงทุนทั้งหมด

จาก 3% ในปีก่อนหน้าและ 14% ในปี 2558 ตัวเลข 2% ดังกล่าวถือว่าน้อยกว่าเวียดนามและมาเลเซียที่ 8% และห่างจากอินโดนีเซียที่ 49% อยู่มาก และในปี 2565 ไทยมียูนิคอร์นทั้งสิ้น 3 บริษัท มีจำนวนสตาร์ตอัพ 1,000 ราย เทียบกับเวียดนามที่มียูนิคอร์น 5 ราย สตาร์ตอัพ 3,700 ราย สิงคโปร์มียูนิคอร์น 20 ราย สตาร์ตอัพ 55,000 ราย ฟิลิปปินส์มียูนิคอร์น 3 ราย สตาร์ตอัพ 1,500 ราย เป็นต้น โดยไทยมียูนิคอร์นมากกว่ามาเลเซียที่มี 1 รายแต่มีสตาร์ตอัพ 3,500 ราย

นายอธิปกล่าวว่า ปัญหาขาดแคลนแรงงานด้านไอซีที ทำให้ไทยต้องนำเข้าแรงงานด้านนี้มาจากหลายประเทศ ยกตัวอย่าง มาเลเซีย หรือกรณีโปรแกรมเมอร์ ส่วนใหญ่นำเข้าจากปากีสถาน บังกลาเทศ ซึ่ง 2 ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีฐานะยากจน แต่สามารถผลิตโปรแกรมเมอร์คุณภาพป้อนตลาดโลกได้ จึงน่าจะต้องฝากคำถามไว้ให้คิดว่าสุดท้ายแล้วคนไทยจะไปอยู่ตรงไหนของโลก.

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5