เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน

[admin]
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> การจัดการเรียนการสอน >>
สัญญาณเตือนอาการสายตาสั้นในเด็ก พ่อแม่ควรสังเกต  VIEW : 526    
โดย ตะวัน

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 492
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 17
Exp : 98%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.86.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 20:09:40   

ปัญหาสายตานั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใหญ่เท่านั้นนะคะ เด็ก ๆ ก็สามารถเกิดปัญหาทางสายตาได้ค่ะ โดยเฉพาะสายตาสั้นมักจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยเรียน พ่อแม่ควรจะต้องให้ความสนใจอย่างมากหากลูกมีอาการบางอย่าง เช่น การพยายามเพ่งมอง หรี่ตามอง มองจอใกล้กว่าปกติ หรือในบางครั้งที่กลับมาจากโรงเรียน มักจะมีอาการปวดหัว ปวดตาอยู่บ่อย ๆ อาการเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงปัญหาทางสายตาสั้นในเด็กได้นั่นเอง เมื่อลูกสายตาสั้นจะทำไงดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

อาการที่เกิดจากการใช้ตาเพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ มากจนเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อภายในลูกตาเกร็ง เเละทำงานหนัก เพราะถูกใช้้งานนานกว่าปกติ จนทำให้ร่างกายมีภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เกิดเป็นการมองภาพใกล้ๆ ไม่ชัด เเต่เมื่อกล้ามเนื้อคล้ายตัวก็จะกลับมามีสายตาปกติเหมือนเดิม จึงเรียกกันว่า “สายตาสั้นเทียม” เเต่ในบางรายอาจพัฒนาไปเป็นสายตาสั้นแบบถาวรได้ ปัญหาสายตาสั้นในเด็กมักจะเกิดขึ้นได้กับครอบครัวที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่มีสายตาสั้น หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยอาการที่ชวนให้น่าสงสัยว่าลูกจะมีโอกาสเป็นสายตาสั้นได้นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เรานำวิธีสังเกตอาการที่ลูกมีความเสี่ยงสายตาสั้นมาฝากกันค่ะ

อาการบ่งบอกว่าลูกอาจสายตาสั้น
ในเด็กที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการสายตาสั้น มักจะมีการแสดงออกทางกายได้หลายอย่างดังนี้
1.ลูกมักจะขยี้ตาบ่อยๆ ซึ่งคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหมั่นตรวจดูว่าในตาลูกมีเศษฝุ่นผงเข้าตาลูกหรือไม่ หากตรวจดูแล้วไม่มี ก็ให้สงสัยไว้เลยว่าลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการมองเห็น
2.ลูกมีอาการชำเลืองมอง หรือหรี่ตาข้างหนึ่งเป็นประจำ เนื่องจากลูกมีอาการมองไม่ชัด จึงต้องชำเลืองมองเพื่อบังคับให้สายตาได้เพ่งมองเห็นสิ่งที่ต้องการมองชัดเจนขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาชอาจส่งผลเสียระยะยาวได้ และจะติดเป็นนิสัยการหรี่ตาไปจนโตจนทำให้เสียบุคลิกภาพในที่สุด
3.ลูกชอบถือวัตถุสิ่งของเขาใกล้ชิดติดกับตา
4.ลูกกระพริบตาถี่ๆ เมื่อทำงานใช้สายตา พร้อมทั้งบ่นว่าปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ
5.ลูกบ่นว่าคันตาหรือแสบตา
6.ลูกบ่นว่ามองเห็นภาพไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
7.ก้มอ่านหนังสือจนหน้าชิดหนังสือ
8.ไม่สามารถรับลูกบอลได้
9.ไม่สามารถดูภาพยนตร์ 3 มิติได้

สาเหตุของอาการสายตาสั้นในเด็ก
1.การเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากและนานเกินไป ในระยะที่ใกล้มาก ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า เช่น สมาร์ทโฟน แทปแลต คอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ วันละหลายชั่วโมง
2.โรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
3.ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาคลายกล้ามเนื้อต่าง หรือยารักษาต้อหิน
4.ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกรอกตา

วิธีรับมือแก้ไข เมื่อลูกสายตาสั้น
เมื่อลูกมีปัญหาสายตาสั้นโดยเฉพาะในเด็กที่อยู่ช่วงวัยก่อน 6 ขวบสามารถป้องกันได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ

1.พาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ
การที่ลูกได้ไปตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์จะทำให้ได้ตรวจเช็คระบบประสาทตา และสายตาของลูกด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น สายตาเอียง หรือสายตาสั้นมากขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ ซึ่งเด็กที่ไปโรงเรียนแล้วก็อาจจะมีการตรวจประจำปีที่โรงเรียนที่มีการตรวจสุขภาพให้เด็กอยู่แล้ว แต่ทางที่ดีคุณแม่ควรหาเวลาพาลูกไปพบจักษุแพทย์ด้วยตัวเอง ก็จะทำให้มีโอกาสได้รู้ว่าลูกมีสายตาสั้นมากน้อยแค่ไหน สามารถพูดคุยปัญหากับคุณหมอโดยตรงย่อมดีกว่า

2.ดูแลสายตาด้วยวิธี 20 /20 /20
การดูจอคอมพิวเตอร์หรือดูโทรทัศน์ ควรให้ลูกละสายตาทุก 20 นาที ให้มองวัตถุที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หลังจากนั้นค่อยกลับมาดูจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ต่อได้

3.ตัดแว่นสายตาให้ลูกใส่
หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วว่าลูกเป็นสายตาสั้น ก็ควรจะไปตัดแว่นที่เหมาะสมกับขนาดระดับสายตาของลูกการใส่แว่นช่วงแรกๆ เด็กอาจจะไม่ค่อยถนัดแต่ต้องบอกรู้ว่ามันจะช่วยรักษาให้สายตาดีขึ้นควรจะใส่แว่น

อาการสายตาสั้นที่พบในเด็ก
ในเด็กไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองมีแนวโน้มว่าจะเกิดอุบัติการณ์ของสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการศึกษาสาเหตุน่าจะมาจากการที่เด็กมีโอกาสใช้ชีวิตนอกห้องเรียน หรือวิ่งเล่นที่สนามน้อยกว่าเด็กที่อยู่ตามต่างจังหวัด ซึ่งการที่เด็กคร่ำเคร่งในการเพ่งอยู่กับหนังสือ หรือจอโทรศัพท์นานๆ เป็นการเพ่งมองในระยะใกล้ๆ นานๆ อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การเกิดสายตาสั้นขึ้นได้ง่าย อาการสายตาสั้นในเด็กที่พบได้มี 2 แบบที่ต้องระมัดระวัง

1.สายตาสั้นเทียม
อาการสายตาสั้นเทียม เกิดได้จากการที่เด็กเพ่งมองสิ่งนั้นนานๆ และเมื่อไปวัดสายตาก็จะทำให้พบว่าสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริงจึงเรียกว่าสายตาสั้นเทียม

2.อาการสายตาสั้น
ในเด็กมักเกิดจากความผิดปกติที่มองเห็นระยะไกลไม่ได้ จะต้องดูในระยะใกล้หรือต้องหยีตาดูเวลาที่จะจองวัตถุที่อยู่ไกล ซึ่งเป็นอาการสายตาสั้นที่เด็กก็มักจะเกิดขึ้นได้ อาการอีกประการหนึ่งที่ร่วมกับสายตาสั้นคือ สายตาเอียง ส่วนมากเกิดจากการโฟกัสในแต่ละแนวของกระจกตาดำไม่เท่ากัน เนื่องจากธรรมชาติได้สร้างกระจกตาดำของมนุษย์ให้มีลักษณะเหมือนกลมเหมือนลูกรักบี้ จึงทำให้ความโค้งแต่ละแนวจึงไม่เท่ากันเป็นเหตุให้ภาพไม่ได้ตกโฟกัสลงในจุดเดียวกัน จึงทำให้ภาพที่เห็นนั้นมัวทั้งระยะใกล้ และระยะไกล ในเด็กที่มีปัญหาสายตาเอียงมักจะเอียงหน้าหรือตะแคงหน้ามอง ซึ่งภาวะสายตาผิดปกติทั้ง 3 อย่างนี้ที่เกิดในเด็กเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคตาขี้เกียจ หรือหากสายตาข้างใดข้างหนึ่งแย่ไปอีกกว่าข้างจนทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

การแยก “สายตาสั้น” กับ “สายตาสั้นเทียม”
อาการสายตาสั้นจริงเเละสายตาสั้นเทียมที่เหมือนกันคือมองไกล ๆ ไม่ชัด ส่วน “สายตาสั้นเทียม” จะมีอาการ คือ

1.เริ่มมองไม่ชัดทันที
ตรงที่สายตาสั้นปกติจะค่อยๆ มีอาการมองไม่ชัด เเต่สายตาสั้นเทียมจะเริ่มมีอาการมองไม่ชัดแบบฉับพลันทันที เช่น ตามัวไปเลย 1 อาทิตย์

2.ปวดหัว ปวดตา อาเจียน
อาจมีอาการปวดตา ปวดหัว หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เเละหลังใช้สายตานานๆ ก็จะมีอาการตามัวมากขึ้น

3.ค่าสายตาเปลี่ยนไปมา
เมื่อวัดสายตาแล้วได้ค่าที่ไม่แน่นอน เช่น เมื่อวัดสายตาได้ค่าความสั้นเป็น -5.00 เเล้วลองหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งช่วยทำให้กล้ามเนื้อในลูกตาที่หดตัวผิดปกติคลายออก แล้วลองวัดค่าสายตาใหม่ กลับได้เพียง -4.00 ซึ่งน้อยกว่าที่ตอนแรกวัดได้

https://doodido.com





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5