เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> การจัดการเรียนการสอน >>
6 กับดักความคิดแบบผิดๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเวลาไม่เคยพอ  VIEW : 452    
โดย ตะวัน

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 492
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 17
Exp : 98%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 223.24.186.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 16:32:29   

คำว่า ไม่มีเวลา เป็นคำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยที่สุด เพราะหลายคนมักจะใช้เป็นข้ออ้างให้กับตัวเองในการที่จะตัดสินใจลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ข้อความนี้เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางความก้าวหน้าของชีวิต และยังบ่งบอกได้ว่าเราเป็นที่ไม่สามารถจัดการกับเวลาของชีวิตได้อีกด้วย วันนี้เราจะขอพาเพื่อน ๆ มาดู 6 กับดักความคิดแบบผิด ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเวลาไม่เคยพอกันค่ะ

“ไม่มีเวลา” คำนี้ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ทั้งที่ก็รู้สึกว่าตัวเองใช้ทุกวินาทีอย่างคุ้มค่าแล้ว นั่นก็เพราะว่ามีเหตุการณ์หรือการเผลอมองสิ่งรอบข้างมากเกินไป ปัจจุบันจึงเกิดคำว่า “ความร่ำรวยทางเวลา” (Time Affluent) หมายถึงช่วงเวลาที่ว่างพอที่จะพักผ่อนได้จริงๆ โดยไม่ต้องเอางานมาทำ หรือคุยโทรศัพท์เรื่องอื่น ๆ ไปด้วย ทั้งที่ปัจจุบันมีเครื่องมือในการจัดการเวลามากมาย แต่สุดท้ายแล้วเราต่างก็พบว่ามีเวลา “ว่าง” น้อยกว่าในอดีต นั่นเป็นเพราะความคิดที่เรามี และสิ่งที่เราทำเพื่อเผาผลาญเวลาได้เปลี่ยนไป

1.เทคโนโลยีทำให้เวลากระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (Time Confetti)
ขณะที่กำลังตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ เดี๋ยวก็มีเสียงอีเมลล์เด้ง หรือไลน์แก้งานดราฟต์ที่ 5 จากลูกค้า ระหว่างที่แก้งานอย่างฉับพลัน ก็มีแจ้งเตือนจากครอบครัวที่ต้องให้ความสนใจอย่างเร่งด่วนดังขึ้นมาอีก ทำให้สุดท้ายกลายเป็นทำไม่เสร็จเลยสักงาน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการจัดการงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ทำให้เราเสียเวลาไปโดยไม่รู้ตัว และกว่าจะกอบกู้สมาธิกลับมาได้ ก็ยากเย็นกว่าตอนที่โดนทำลายมากนัก เราเรียกงานยิบย่อยที่ใช้เวลาสั้นๆ ทำ แต่โดยรวมแล้วกินเวลาไปมากโขว่า “Time Confetti” การต้องโต้ตอบกับงานเหล่านี้แบบฉับพลัน ทำให้เราใช้พลังงานมากกว่าปกติ สุดท้ายแล้วจึงรู้สึกเหนื่อย และไม่มีเวลามากกว่าเดิม ลองเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบ Proactive คือวางแผนไว้ล่วงหน้า และมุ่งทำงานเหล่านั้นให้เสร็จ

2.เราให้ความสนใจกับเงินมากเกินไป
“งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” วลีไร้ที่มา แต่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยความเชื่อว่าจะเงินจะสามารถสร้างความสุขได้ จึงยอมแลกกับหลายอย่างเพื่อให้ได้มา ไม่ว่าจะเป็น ความสัมพันธ์ ชื่อเสียง หรือกระทั่งเวลา จริงอยู่ที่ว่าเงินนั้นสร้างความสุขได้ แต่ก็ไม่ทั้งหมด งานวิจัยที่เก็บข้อมูล 1.7 พันล้านคน จาก 165 ประเทศ พบว่า เมื่อผู้คนทำเงินได้ถึงประมาณ 65,000 ดอลลาห์ต่อปี เงินจะไม่สามารถสร้างความสุขได้อีกต่อไป แน่นอนว่าการมีเงินเป็นเครื่องป้องกันเราจากความเครียดได้อย่างแน่นอน เมื่อรถยนต์พัง หรือต้องเข้าโรงพยาบาล ตัวเลขในบัญชีก็พอให้เราอุ่นใจได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้นจะกลายเป็นดี จริงไหม

การมุ่งหาเงินโดยไม่ซึมซับประสบการณ์สำคัญรอบข้าง จึงเป็นความเชื่อที่ผิด และทำให้เราเสียช่วงเวลาดีๆ ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะสุดท้ายแล้วการไล่ล่าความร่ำรวย ก็จะทำให้เราไล่ล่าไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น

3.เราให้ค่าของเวลาน้อยเกินไป
เพราะธรรมเนียมการให้คุณค่ากับเงินตรามากเกินไป หลายคนป้องกันการสูญเสียเงินด้วยการใช้เวลาที่มากขึ้น เพื่อผลลัพธ์เท่าเดิม แต่ใช้เงินน้อยลง อย่างที่หลายคนเคยพูดว่า เงินซื้อเวลาได้นั่นเอง ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะวัดคุณค่าของเวลา ส่วนใหญ่เราจะเลือกการประหยัดเงิน ด้วยการใช้เวลาที่ไม่คุ้มค่าเอาซะเลย นั่นเพราะเงินเป็นสิ่งที่ดูจับต้องได้มากกว่า ทำให้เราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว คำว่าเสียเวลาที่ว่า มัน “เสีย” ไปเท่าไหร่

ตัวอย่างง่ายๆ หากคุณเดินทางด้วยเที่ยวบินต่อเนื่องในราคาที่ถูกลงเพียงเล็กน้อย นั่นแปลว่าคุณกำลังติดอยู่ในกับดักของข้อนี้ ลองนึกดูว่าประหยัดเงินได้ 5,000 บาทก็จริง แต่กินเวลาในทริปของคุณเพิ่มอีก 8 ชั่วโมง ซึ่งทำให้คุณอดใช้เวลาในการเที่ยว และเพลียจากการเดินทางมากขึ้น แบบนี้แล้ว จะยอมเสียเงินเพิ่มหรือเปล่านะ

4.เพราะการยุ่งตลอดเวลา น่าภาคภูมิใจกว่าการมีเวลาว่าง
ยุคนี้เป็นยุคที่ชีวิตเราผูกติดอยู่กับงานมากกว่าช่วงไหนๆ การบอกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบงานเยอะเเยะ ฟังผิวเผินอาจฟังดูหมือนบ่น แต่ยอมรับมาเถอะว่าลึกๆ แล้วเราภาคภูมิใจ เพราะบ่งบอกว่าตัวเองมีหน้าที่และความสำคัญ หลายคนได้รับการประเมินที่ทำงานว่าทำงานดี เพียงเพราะทำตัวยุ่งตลอดเวลา ทั้งที่ผลลัพธ์ไม่มีอะไรเลย นอกจากนั้น การรู้สึกไม่ปลอดภัยทางการเงิน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการทำงาน ยิ่งมีโซเชียลมีเดียต่างๆ เข้ามาทำหน้าที่ของการแสดงถึงความชีวิตดี ยิ่งทำให้สถานะทางการเงินของแต่ละคนสั่นคลอน ทำให้ตัวเองเร่งหาเงินมากขึ้น จนกลายเป็นว่า เมื่อมีเวลาว่างและไม่ได้ทำอะไร จะรู้สึกผิดในทันที (เช่นการบ่นว่า เวลาที่เหลือนี่เอาไปทำงานหาเงินได้ตั้งเยอะเลยนะ!)

พฤติกรรมเหล่านี้ถูกสร้างสมมานานจนกลายเป็นความคุ้นชิน เมื่อการบ้างานเป็นสัญลักษณ์ของความโพรดัคทีฟ ทำให้เราต้องดูยุ่งตลอดเวลาอย่างช่วยไม่ได้ซึ่งการ “ทำเป็น” ยุ่ง นั้น นอกจากจะไม่ได้ยุ่งจริงๆ แล้ว ยังเสียเวลาเกินความจำเป็นไปอย่างไม่น่าให้อภัยเลยล่ะ สู้เปลี่ยนเป็นการแบ่งเวลาเพื่อทำงาน แล้วว่างแบบจริงๆ จะดีกว่านะ

5.เราถือว่าการมีเวลาว่างนั้นน่าเบื่อ
แม้ใคร ๆ จะบอกว่าโลกในตอนนี้ช่างเป็นสังคมที่เท่าเทียมและค่อนข้างสงบสุข แต่เราก็ยังสรรหาสร้างช่วงเวลาแห่งความเครียดขึ้นมาได้เรื่อยๆ เสมอ เพราะมนุษย์นั้นขึ้นชื่อเรื่องเผ่าพันธุ์แห่งการหาทำอยู่แล้ว เทคโนโลยีอาจช่วยไม่ให้เราจมอยู่กับความคิดตัวเอง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ และการใช้เวลาเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การพักผ่อนด้วยการการเล่นโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์ ก็ไม่ถือว่าเป็นการพักเท่าไหร่นัก เพราะสมองยังทำงานอยู่(อย่างหนักด้วย) ความจริงแล้ว การพักผ่อนแบบไม่ทำอะไรเลย เป็นหนึ่งในการพักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังเป็นการทำให้เราเป็นคนที่ร่ำรวยทางเวลา (Time Affluennt) ได้มากขึ้น และยังทำให้เราได้พักผ่อนอย่างแท้จริงอีกด้วย

6.วันพรุ่งนี้มีเวลามากกว่าวันนี้เสมอ
“ไว้ค่อยทำพรุ่งนี้” อีกหนึ่งคำยอดฮิตที่ทุกคนในยุคสมัยนี้ชอบพูดกัน ทั้งที่พรุ่งนี้ก็มีเพียง 24 ชั่วโมงเหมือนกัน แต่ทุกอย่างมักจะถูกผลักไปทำในวันรุ่งขึ้นทั้งหมด สุดท้ายก็ไม่มีเวลามากพอ และจะเลื่อนไปในวันถัดไปอีกอยู่ดี และไม่เพียงแต่จะเป็นวันพรุ่งนี้ทั้งนั้น หากมีเพื่อน หรือคนอื่นๆ มานัดวันล่วงหน้า เรามักจะรับปากเพราะคิดว่ามีเวลาว่างโดยเสมอ โดยสถิติแล้ว สิ่งที่เป็นการคาดเดาได้แม่นยำมากที่สุดว่าอาทิตย์หน้าเราจะยุ่งหรือไม่ ให้ดูที่วันเดียวกันในอาทิตย์นี้ หากงานล้นมือ ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาทิตย์หน้าจะไม่ต่างกัน วิธีแก้คืออย่าลืมทำตารางงานประจำวันเพื่อเช็คเวลา และต้องไม่ลืมว่า ไม่ว่าจะวันนี้หรือวันไหนๆ เวลาจะเดินเท่าเดิม และมี 24 ชั่วโมงเท่ากับวันนี้เช่นเดียวกัน

https://doodido.com





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5