เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> การจัดการเรียนการสอน >>
5 วิธีลงโทษลูกแบบไม่ต้องตี แค่อบรมลูกด้วยเหตุผล  VIEW : 448    
โดย ตะวัน

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 492
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 17
Exp : 98%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.78.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:03:59   

เวลาที่ลูกดื้อไม่ยอมเชื่อฟัง พ่อแม่หลายคนลงโทษด้วยการตีเพื่อให้ลูกหลาบจำ แต่รู้ไหมคะว่าการตีลูกนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกรอยแผลที่ฝังลึกอยู่ในใจ ส่งผลให้พ่อแม่ได้รับการตอบสนองในเชิงลบตามมา แทนที่ลูกจะเข้าใจและเชื่อฟัง ลูกจะมีพฤติกรรมที่ต่อต้านและตอบกลับมาแบบรุนแรง เหมือนที่พ่อแม่ทำกับเขา วันนี้เราเลยจะขอแนะนำผลเสียจากการตีลูกและวิธีวิธีลงโทษลูกแบบไม่ต้องตีลูกค่ะ

“รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ที่เราได้ยินมาเนิ่นนาน เป็นวิธีการที่เชื่อว่าผู้ใหญ่หลายๆ คนมักโตมาด้วยการทำโทษอย่าง “การตี” แต่สำนวนไทยนี้อาจจะไม่เหมาะกับการเลี้ยงลูกในปัจจุบันค่ะ เนื่องจากการสอนลูกด้วยวิธีต่างๆ มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจ ได้มากและหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มีช่องทางในการศึกษาวิธีอบรมเลี้ยงดูลูกน้อยของตนเองได้อย่างดีและเหมาะสมที่สุด แล้วการสอนลูกด้วยการตีนั้นดีจริงไหม? น้องโสสะขอแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

การตี ส่งผลร้ายต่อเด็กอย่างไร
การตีเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ลูกเจ็บและรู้สึกกลัวจึงหยุดทำ แต่ลูกไม่ได้เข้าใจเหตุผลว่าเพราะอะไรหรือทำไมจึงทำเช่นนั้นไม่ได้ ทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การตอบสนองในเชิงลบได้ การที่เด็กถูกตีบ่อยๆ ตั้งแต่ยังเล็ก จะซึมซับจดจำพฤติกรรมจากพ่อแม่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงแบบเมื่อโตขึ้น กลายเป็นคนก้าวร้าว ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดง่าย และร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

ลงโทษด้วยการตี อย่างไรถึงถูกต้อง
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงโทษลูกด้วยการตีไว้ว่า “กรณีที่เด็กทำความผิดรุนแรงจำเป็นต้องควบคุม กำกับอย่างหนักแน่น ชัดเจน การตีจึงเป็นทางเลือกหนึ่งได้ …ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจว่าการตีนั้นทำไปเพื่อให้เด็กรู้ว่านี่คือการลงโทษขั้นสูงสุด การตีควรเก็บเอาไว้ใช้สำหรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาสูงสุดเท่านั้น” ซึ่งควรใช้กับเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไปเพราะอยู่ในวัยที่สามารถเริ่มเรียนรู้เหตุและผลได้

กล่าวคือ การลงโทษด้วยการตี ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำได้เลย เพียงแต่ต้องใช้ในเหตุการณ์จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ การทำร้ายตัวเอง การทำร้ายคนอื่น และการทำลายข้าวของ ซึ่งต้องไม่ใช่การตีด้วยอารมณ์โกรธ แต่เป็นการสอนให้เขาเข้าใจว่านี่เป็นเรื่องร้ายแรงที่ไม่ควรทำ ที่สำคัญ! ไม่ควรใช้อุปกรณ์ในการทำโทษ เช่น ไม้เรียว ไม่แขวนเสื้อ ฯลฯ หรือการตีที่เป็นการทำร้ายร่างกาย เช่น การตบหน้า การฟาดอย่างแรง ฯลฯ เพราะเด็กจะรับรู้เพียงความเจ็บและความกลัวจากอารมณ์โมโหของคุณพ่อคุณแม่เท่านั้น การตีที่ดีจะต้องใช้มือตีที่มือของเด็ก เพราะเราจะสามารถกะน้ำหนักที่เหมาะสมได้ และสีหน้าท่าทางต้องมีความจริงจัง รวมถึงอธิบายเหตุผลในการตีให้เขาเข้าใจด้วยท่าทางที่ใจเย็น เมื่อลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเข้าใจสิ่งที่ทำก็อย่าลืมชื่นชมและกอดให้กำลังใจเขาด้วยนะคะ

5 วิธีลงโทษ โดยไม่ต้องตีลูก

1. ตักเตือน
เหมาะกับเด็กเล็ก โดยใช้การตักเตือนด้วยน้ำเสียงจริงจังเมื่อลูกทำผิด เพื่อสร้างการรับรู้ให้เขาเข้าใจว่ากำลังทำผิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น เมื่อลูกแย่งของเล่นจากเพื่อน พ่อแม่ควรเตือนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และหากลูกถูกคนอื่นแย่งของบ้างจะรู้สึกเสียใจเหมือนกันใช่ไหม เป็นต้น

2. แยกออกมาให้อยู่ตามลำพัง (Time Out)
ใช้ได้ผลดีในเด็กอายุประมาณ 2-10 ปี เป็นการสร้างพื้นที่สงบ ปลอดภัย ให้ลูกได้นิ่งคิดเพียงลำพัง ทบทวนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่ โดยกำหนดเวลาที่แน่ชัดและไม่ควรเกิน 10 นาที โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องบอกให้ลูกรู้ก่อนว่าทำอะไรผิด และควรแก้ไขอย่างไร ก่อนลงโทษและคอยเฝ้าอยู่ห่างๆ โดยไม่เข้าไปรบกวน แต่ห้าม! ปิดประตูขัง หรือขังไว้ในที่แคบเด็ดขาด

3. ลงโทษลูกด้วยวิธีการไม่สนใจ/เพิกเฉย
ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยต้องไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนผู้อื่น เช่น เมื่อเด็กร้องไห้อาละวาดอยู่บนพื้นเพราะไม่ได้ดั่งใจ ควรทำเป็นไม่สนใจและปล่อยให้ร้องจนหยุดเอง เมื่อหยุดร้องจึงค่อยเข้าไปพูดคุยเพื่อสอนว่าการทำเช่นนี้ไม่น่ารัก ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเสียใจ และต่อไปควรแสดงออกอย่างไรถึงจะเป็นเด็กดี

4. ฝึกให้รับผิดชอบต่อการกระทำ
การฝึกระเบียบวินัยที่ดีคือลูกต้องรู้จักรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ โดยเริ่มต้นจากชีวิตประจำวัน เช่น หากลูกรื้อของเล่นแล้วไม่ยอมเก็บเอง แม่ก็จะเก็บและไม่ให้เล่นแล้วเพราะลูกไม่ดูแล, หากลูกเล่นซนทำบ้านเลอะเทอะ ก็ต้องทำความสะอาดด้วยตัวเอง เป็นต้น

5. ลงโทษลูกด้วยวิธีการงดกิจกรรม/ไม่ให้รางวัล
เป็นการลงโทษเพื่อสร้างเงื่อนไข เช่น หากไม่ทำการบ้านให้เสร็จ จะไม่ให้ออกไปเล่นกับเพื่อน, หากไม่เก็บของเล่นให้เรียบร้อย แม่จะไม่ซื้อตุ๊กตาที่หนูอยากได้ให้ เป็นต้น พร้อมกับสอนลูกด้วยว่าทำไมถึงต้องทำแบบนี้ เพื่อให้ลูกเข้าใจแล้วไม่ทำผิดซ้ำอีก

https://doodido.com





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5