เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> การจัดการเรียนการสอน >>
แนะ 9 วิธีแก้นิสัยลูกก้าวร้าว ให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น!!  VIEW : 480    
โดย ตะวัน

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 492
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 17
Exp : 98%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.78.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 18:40:09   

ปัจจุบันเราจะเห็นพฤติกรรมการก้าวร้าวของเด็กกันอยู่บ่อย ๆ ที่ไม่ถูกใจก็จะร้องไห้ นอนลงและกรี๊ดโวยวายเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมเด็กถึงมีพฤติกรรมก้าร้าวได้ถึงขนาดนี้ พ่อแม่เลี้ยงดูแบบไหนถึงทำให้ลูกมีอารมณ์ร้อนและพูดจาหยาบคาย เด็กบางคนก็ชอบทำงายข้าวของและลงมือทำร้ายผู้อื่น แล้สหากลูกของเราเป็นแบบนี้เราจะรับมืออย่างไร จะจัดการกับพฤติกรรมการก้าวร้าวแบบนี้ได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

เด็กเล็กวัย 2-5 ปี ยังเป็นวัยที่พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม จะยึดตนเองเป็นหลัก ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์ที่เด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความขับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย เช่น เด็ก 2 ขวบแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เด็ก 3 ขวบลงไปนอนกับพื้นร้องเสียงดัง เพื่อจะได้เล่น ถึงแม้จะเป็นก้าวร้าวตามวัย พ่อแม่ควรที่จะช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก และสาเหตุที่ทำให้เด็กก้าวร้าว ได้แก่

เด็กก้าวร้าวอาละวาดจากสภาวะจิตใจ
เด็กและวัยรุ่น ที่เครียด กังวลใจ ซึมเศร้าหรือมีความคับข้องใจทางอารมณ์ ขาดความสุขด้วยวุฒิภาวะที่ยังเป็นเด็กอยู่ จึงระบายความรู้สึกโดย ก้าวร้าว อาละวาด ต่อต้าน ไม่สุภาพ โดยมากเด็กจากสาเหตุนี้จะมีอาการทางอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น สีหน้าไม่มีความสุข ปรับตัวยากกับเพื่อน ฯลฯ

เด็กก้าวร้าวอาละวาดจากการเลี้ยงดู
เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูตามใจ ขาดกฎเกณฑ์ วินัย ขาดการสอนหรือสื่อความหมาย เมื่อทำความผิดถูกลงโทษหรือเห็นตัวอย่างแก้ปัญหาที่รุนแรงทั้งกายและใจ ถูกยั่วยุอารมณ์บ่อย ๆ จะทำให้เกิดความก้าวร้าว การเลี้ยงดูจึงมีบทบาทสำคัญมากต่อการป้องกันและการแก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม

เด็กก้าวร้าวจากสภาวะแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ดูโทรทัศน์นานเกิน 2 ชั่วโมงต่อวันจะหงุดหงิด ก้าวร้าว ส่วนเด็กที่เห็นภาพรุนแรงทั้งจากชีวิตจริง หรือตามสื่อต่างๆหรือเกมส์คอมพิวเตอร์จะซึมซับความรุนแรง เสียนแบบเห็นเป็นเรื่องปกติ และแสดงออกด้วยความก้าวร้าวได้

9 กฎเหล็ก ปรับพฤติกรรมลูกก้าวร้าว ต่อต้าน ให้ได้ผล

1. “เข้าใจ” ผู้ปกครองควรเข้าใจว่า อะไรคือสิ่งกระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา
ผู้ปกครองต้องเข้าใจก่อนว่า เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา มีเหตุการณ์หรือตัวกระตุ้นอะไรที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าว เช่น เด็กอาจต้องการความใส่ใจ ต้องการรับความรักจากผู้ปกครอง และควรเข้าใจด้วยว่า เหตุการณ์นั้นส่งผลให้เด็กรู้สึกอย่างไร

2. “หยุด” บวกกลับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการดุด่า ลงโทษรุนแรง
การสอนลูกตอนที่อารมณ์ผู้ปกครองร้อนไม่ต่างกันกับเด็ก ก็เหมือนเอาน้ำมันไปราดไฟ เป็นการเพิ่มความก้าวร้าวในตัวเด็ก เพราะเด็กเห็นผู้ปกครองเป็นตัวอย่าง

3. “หลีกเลี่ยง” ถ้อยคำที่ทำให้เด็กรู้สึกมีปม เช่น นิสัยเสีย ไม่มีใครรัก
การใช้คำเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ หรือประชดเด็ก ด้วยคำพูดที่อยากเอาชนะ อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปม และอาจเป็นปมในใจพวกเขาไปจนถึงเติบโต

4. “หลีกเลี่ยง” การแยกเด็กให้อยู่ในห้องคนเดียวเป็นเวลานานๆ
ไม่ควรสั่ง time out โดยการแยกเด็กอยู่คนเดียวนานๆ เพราะเด็กอาจรู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกโดดเดี่ยว และเครียด จนอาจคิดทำร้ายตนเอง

5. “หลีกเลี่ยง” การเอาใจในขณะที่เด็กก้าวร้าว เช่น ตอบตกลง หรือต่อรองกับสิ่งที่เด็กต้องการ
ผู้ปกครองไม่ควรตอบตกลง หรือต่อรองกันในขณะที่เด็กมีอารมณ์ หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะต้องการหลอกล่อให้เด็กหยุด จะทำให้เด็กเคยตัวกับการที่แสดงพฤติกรรมแบบนี้ แล้วผู้ปกครองจะตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ควรตอบสนองเด็ก เฉพาะช่วงที่อารมณ์สงบลง และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้น

6. “ต้องทำ” ลูบหัว หรือโอบกอดด้วยความรัก เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย
ผู้ปกครองไม่ควรประชด หรือแสดงความรำคาญด้วยการเดินหนี แต่ควรแสดงความรัก ด้วยการลูบหัว โอบกอด เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย ที่มีผู้ปกครองคอยอยู่ข้างๆ แต่ถ้าลูกต่อต้านไม่ให้กอด ควรคอยอยู่ข้างๆ ไม่ทิ้งให้เขาอยู่เพียงลำพัง

7. “ต้องทำ” เมื่อเด็กสงบลง ควรคุยกับเขาด้วยเหตุผล และถามว่ารู้สึกอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหา โดยใช้เสียงที่นุ่มนวล
เป็นการรับฟังเหตุผลที่เด็กทำลงไปเพราะอะไร และแนะนำทางออกให้เด็ก ว่าถ้าเด็กมีอารมณ์โกรธควรทำอย่างไร เพื่อเป็นการให้เขารู้จักกับอารมณ์ของตนเอง และเรียนรู้ที่จะระบาย หรือหาทางออกได้อย่างเหมาะสม

8. “ควร” ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ทำลงไป เช่น เก็บสิ่งของที่ขว้างปา
ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่น เก็บของเล่นที่ขว้างปาจนกระจัดกระจาย โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ใช่สิ่งที่เด็กทำเองไม่ได้ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า หากทำแบบนี้ ผลที่ตามมาคืออะไร

9. “เพิ่ม” การชื่นชม เมื่อเด็กควบคุมอารมณ์ตนเองได้ แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
หากเด็กมีความตั้งใจ พยายามจัดการอารมณ์ของตนเอง แม้จะยังจัดการอารมณ์ หรือพฤติกรรมของตนเองได้ไม่ดีนัก ควรมีการชื่นชม ให้กำลังใจที่เด็กมีความพยายามที่จะจัดการอารมณ์ตนเอง

https://doodido.com





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5