เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
มาทำเข้าใจ โรคซึมเศร้า ในวัยรุ่นยุคปัจจุบัน  VIEW : 431    
โดย หยาดฟ้า

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 193
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 11
Exp : 23%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.55.68.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 22:09:48   

โรคซึมเศร้า ก่อให้เกิดเหตุการณ์การฆ่าตัวตายของนิสิตและนักศึกษาหลายราย
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย โดยอาการเศร้าเป็นอารมณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับมนุษย์ แต่กระบวนการฟื้นฟูจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนเมื่อเศร้าแล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้ แต่หลายคนมีอาการซึมเศร้าหนักขึ้น

โรคซึมเศร้า คืออะไร ?
จากการศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบันพบว่า โรคซึมเศร้า เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม ซึ่งจะต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติที่สามารถหายได้เองเมื่อความเครียดหมดไป ดังนั้น เมื่อ โรคซึมเศร้ามีเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกับโรคทางกายอื่น ๆ ไม่สามารถหายเองได้

มีงานวิจัยที่ชี้ว่าอาการซึมเศร้าจะถูกกระตุ้นจากอาการเสียศูนย์จากปัจจัยต่าง ๆ
เช่น การถูกประเมิน คะแนนสอบ เมื่อผิดหวังไม่ได้สิ่งที่ต้องการก็จะเสียศูนย์ หรือแม้แต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความรัก ความสัมพันธ์ และความรู้สึกผิด ก็ล้วนมีผลเช่นกัน แม้แต่คนที่เกิดอาการเสียศูนย์อย่างฉับพลันก็ไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ภายในตัวว่าจะทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นร้ายแรงแค่ไหน เนื่องจากคนแต่คนมีประสบการณ์ชีวิตต่างกัน มีรูปแบบความคิดต่างกัน มองโลกไม่เหมือนกัน และเป็นเหตุให้การแสดงออกของแต่ละบุคคลต่างกันไปด้วย บุคคลที่มีอาการซึมเศร้าอาจมีพฤติกรรมบางประการที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน ดังนั้น ปัจจัยแวดล้อม เช่น ครู เพื่อน ครอบครัว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นที่พึ่งพิง

จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า
นักศึกษาที่เรียนชั้นปีสูง ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นมากกว่า และมีมากกว่าร้อยละ 6.4 ที่ฆ่าตัวตาย ชีวิตของนักศึกษากว่า 50 เปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับการเรียนหนังสือ ดังนั้น ครู อาจารย์จึงมีบทบาทสูงมากในความชอบหรือไม่ชอบในการเรียน ขณะเดียวกันคนที่นักศึกษาขอรับความช่วยเหลือเป็นคนแรก คือ เพื่อน ส่วนสาเหตุของการฆ่าตัวตายมาจากปัญหาการทะเลาะกับคนใกล้ชิด รวมถึงปัญหาจากการเรียนหนังสือ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การสอบได้คะแนนไม่ตรงตามความคาดหวัง คือตัวแปรที่ทำให้เด็กอาจเกิดการเสียศูนย์ เด็กที่สอบได้คะแนนดีมาตลอด แต่เมื่อได้คะแนนลดลงอาจเกิดอาการไม่คาดคิด จนเกิดเป็นความเศร้า ขณะเดียวกันเด็กที่สอบได้คะแนนไม่ดีมาตลอด ก็เห็นคุณค่าตัวเองน้อย ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กแต่ละคนจึงต้องมีความหลากหลาย

โรคซึมเศร้า มีสเปกตรัม คือ ความรุนแรงของโรค ตั้งแต่ในระดับที่น้อยไปจนถึงระดับที่มาก จนต้องเข้ารับการรักษา ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังถูกมองว่าเป็นโรคจิต ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ต้องการไปพบแพทย์ และไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคนี้

ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าจะมองโลกให้แง่ลบ มองในแง่เลวร้าย และสามารถนำไปสู่ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย การรักษาจำเป็นต้องอาศัยการปรับวิธีคิด และการสร้างเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ให้กับผู้ป่วยผ่านวิธีต่าง ๆ พร้อมทั้งการสร้างแนวทางให้กลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิม ในทางการแพทย์ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีภาวะที่เรียกว่าภาวะสิ้นยินดี คือไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่รู้สึกสนุกอะไรเลย กินไม่ได้ น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เบลอ แต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน หนักเบาต่างกัน วิธีการรักษาก็จะต่างกัน โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีภาระโรคสูงสุดจากการตายก่อนวัยอันควรด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ทุกวันนี้ยังถือว่าเป็นโรคที่จับต้องไม่ได้เพราะเป็นโรคน่าอาย

ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตทำเครื่องมืดคัดกรองและระบบพัฒนาเฝ้าระวังโรคซึมเศร้ามาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่ในระดับวัยรุ่นยังไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะไม่ถูกให้น้ำหนักเท่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ขณะเดียวกันการแสดงออกของวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ยังคงถูกมองว่าเป็นปัญหาพฤติกรรม ทำตัวเกเรมากกว่าที่จะถูกมองว่าเป็นโรค การนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของนักศึกษาในสื่อที่มีการผลิตซ้ำและอธิบายถึงวิธีการกระทำ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เลียนแบบและทำให้อัตราการฆ่าตัวตายสูงตาม ในทางกลับกันหากมีการนำเสนอในสื่อเมื่อมีข่าวคนฆ่าตัวตายถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและการรับมือกับโรคซึมเศร้า พบว่าการฆ่าตัวตายของประชาชนจะลดลง

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)
สังเกตอาการของโรคซึมเศร้าเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง
รู้สึกเศร้า หดหู่  ท้อแท้ ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ กังวลหรือหงุดหงิดมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง

สูญเสียความสนใจในหลายกิจกรรม ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง

เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรืออาจรับประทานอาหารมากกว่าปกติได้

นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือนอนหลับมากจนเกินไป

การเคลื่อนไหวช้าลง หรืออาจกระวนกระวายมากจนเกินไป

อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง

สมาธิลดลง ความจำแย่ลง

รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง คิดว่าตนเองเป็นภาระ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง

ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงความตายบ่อยครั้ง

การป้องกันการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นมี 4 แนวทาง
1. การสร้างทักษะชีวิตวัยรุ่นต้องมองโลกตามความเป็นจริงจัดการอารมณ์และสังคมได้อย่างเหมาะสม

2. ไม่ผลิตข่าวซ้ำ

3. จำกัดวิธี เช่น มีคนไปเฝ้าสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

4. มีระบบเฝ้าระวัง เป็นโจทย์ของโรงเรียนและสถานศึกษาในการหาวิธี

คำถามที่พบบ่อย (FAQ’s)
หากเป็นโรคนี้สามารถรักาาได้หรือไม่
การรักษาด้วยการใช้ยา
ยากลุ่มต้านเศร้า (Antidepressants) ยาในกลุ่มนี้ปัจจุบันมีหลากหลายชนิด พบอาการข้างเคียงลดลง และมีจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้น โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถทำงานร่วมกันในการเลือกยาให้เหมาะสม

ยากลุ่มอื่นๆ (Other Medications) ยาในกลุ่มอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมเพื่อการรักษาภาวะซึมเศร้าในบางราย เช่น ยากลุ่มคลายกังวล ยากลุ่มสมาธิ ยากลุ่มควบคุมอารมณ์หรือยากลุ่มต้านโรคจิต โดยแพทย์จะพิจารณาจากความเหมาะสมร่วมกับการตอบสนองต่อการรักษาที่ผ่านมา

การรักษาแบบจิตบำบัด
การทำจิตบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้วิธีที่ต่างออกไปในการจัดการปัญหาหรือความท้าทายต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต รวมถึงปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ อันเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า เช่น จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ตัวอย่าง CBT ที่ใช้ในการรักษาคือ Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) and Dialectical Behavior Therapy (DBT)

การรักษาแบบอื่น
การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy or ECT) Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)

การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส Vagus Nerve Stimulation

การรักษาด้วยการใช้ยา
ยากลุ่มต้านเศร้า (Antidepressants) ยาในกลุ่มนี้ปัจจุบันมีหลากหลายชนิด พบอาการข้างเคียงลดลง และมีจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้น โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถทำงานร่วมกันในการเลือกยาให้เหมาะสม

ยากลุ่มอื่นๆ (Other Medications) ยาในกลุ่มอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมเพื่อการรักษาภาวะซึมเศร้าในบางราย เช่น ยากลุ่มคลายกังวล ยากลุ่มสมาธิ ยากลุ่มควบคุมอารมณ์หรือยากลุ่มต้านโรคจิต โดยแพทย์จะพิจารณาจากความเหมาะสมร่วมกับการตอบสนองต่อการรักษาที่ผ่านมา

การรักษาแบบจิตบำบัด
การทำจิตบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนหรือเรียนรู้วิธีที่ต่างออกไปในการจัดการปัญหาหรือความท้าทายต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต รวมถึงปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ อันเป็นผลมาจากภาวะซึมเศร้า เช่น จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ตัวอย่าง CBT ที่ใช้ในการรักษาคือ Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) and Dialectical Behavior Therapy (DBT)

การรักษาแบบอื่น
การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy or ECT) Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)

การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส Vagus Nerve Stimulation

สรุป
ความเข้าใจต่อโรคซึมเศร้าของหลายคนในปัจจุบัน เชื่อว่าคนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเพราะอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหลายเหตุปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้น ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งได้รับความเข้าใจอย่างถูกต้องจากคนรอบข้าง จะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคและสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

อ้างอิง
www.chula.ac.th

https://redcross.or.th/news/infographics/17485/

https://mydeedees.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%88-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%8b%e0%b8%b6%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2-%e0%b9%83/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5