เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 12 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เว็บเกี่ยวข้อง

 


 

  

   เว็บบอร์ด >> >>
หนุ่มๆสายดริงค์หูผึ่ง มาทำความรูจัก สุราก้าวหน้า กันเถอะ  VIEW : 384    
โดย หยาด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 256
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 12
Exp : 95%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 125.26.202.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 15 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 18:43:51   

“เช้ากาแฟส้ม กลางวันโซดาใส่น้ำส้ม กลางคืน สุราก้าวหน้า สิครับ”

คำกล่าวของว่าที่นายกคนที่ 30 คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ได้พูดถึง สุราก้าวหน้า ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคที่จะนำเข้ามาในอนาคต โดยวันนี้เราจะมาพูดถึง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า คืออะไร มีข้อเปลี่ยนแปลงอย่างไร และผลพลอยได้มีอะไรบ้าง

ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ‘สุรา’ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทถูกผูกขาดอยู่กับทุนรายใหญ่ทั้งตลาดรวมไปถึงสายการผลิต สุราก้าวหน้าหรือ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าจึงเป็นเงื่อนไขในการขออนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะช่วยกระจายรายได้ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการขนาดย่อย และเปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถผลิตและจำหน่ายสุราได้อย่างถูกกฎหมาย

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า

รูปแบบของ พ.ร.บ. สุราก้าวหน้าหรือร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับที่พรรคก้าวไกลเสนอมาคือ “ปลดล็อกผลิตสุราเสรี ทลายการผูกขาดนายทุน” โดยรายละเอียดเนื้อหาเน้นไปที่การแก้ไขมาตรการ 153 ที่เป็นปัญหาโดยเฉพาะ ดังนี้

เพิ่มคำว่า “การค้า” ลงในมาตรา 153 เพื่อเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตสุราในครัวเรือนได้ จากเดิมคือ “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุราไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดีฯ” เปลี่ยนเป็น “ผู้ใดจะประสงค์ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดีฯ”
ไม่กำหนดเกณฑ์ในการผลิตเหล้าเบียร์ ทั้งกำลังแรงคน และกำลังเครื่องจักร รวมถึงขั้นต่ำที่ต้องผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตรายย่อยเข้าถึงได้
ในกรณีของการตั้งบริษัทเบียร์ ไม่กำหนดทุนจดทะเบียน ยกเว้นการกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย

ร่างแก้ไขของก้าวไกลระบุว่า การกำหนดเงื่อนไข แนวทางปฏิบัติ และเกณฑ์การผลิตสุราที่ไม่เหมาะสมถือเป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนเกินเหตุ เป็นการกีดกันประชาชนออกจากการประกอบอาชีพ ซึ่งขัดต่อมาตรา 40 ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการประกอบอาชีพ จึงควรปรับกฎหมายให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
เหตุผลที่พรรคก้าวไกลผลักดันกฎหมาย “สุราก้าวหน้า”ไม่ใช่แค่เพราะเป็นกฎหมายที่ปลดปล่อยศักยภาพของผู้ผลิตสุราไทยเพียงอย่างเดียว แต่นี่คือหนึ่งในพลังที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวหน้าขึ้น สุราก้าวหน้าไม่ใช่แค่เรื่องของนักดื่มหรือผู้ผลิตสุรา แต่ยังสร้างผลต่อเนื่องอื่นๆ ในการสร้างประเทศไทยมากกว่านั้น

4 ผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่เรามีกฎหมายสุราก้าวหน้า

สุราก้าวหน้า ช่วย ‘เพิ่มรายได้เกษตรกร’

เบียร์-สุราหมักจากข้าว ไวน์ หมักจากพืชพรรณผลไม้ต่างๆ กฎหมายสุราก้าวหน้าจะทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล เคยกล่าวไว้ว่า “ข้าวเก็บไว้ในโกดังมีแต่ราคาลด แต่ถ้าเก็บในไหในขวดบ่มเป็นสุราคุณภาพดี ราคามีแต่ขึ้น” การมีกฎหมายสุราก้าวหน้าจะช่วยให้เราปลดปล่อยศักยภาพและความสร้างสรรค์ ให้นักปรุงสุราจากพื้นที่ต่างๆ สามารถคิดค้นวิธีการของตัวเองในการสร้างสรรค์สินค้าเกษตรให้เป็นสินค้ามูลค่าสูงให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลอง ทำให้เกษตรกรต้นน้ำลืมตาอ้าปากได้

สุราก้าวหน้าช่วย ‘กระตุ้นการท่องเที่ยว’

ไม่ใช่แค่รายได้จากสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น สุราก้าวหน้ายังช่วยให้แต่ละท้องถิ่นดึงเอกลักษณ์ของตัวเองออกมา สุราก้าวหน้าสามารถสร้างเรื่องราวเพื่อเปิดประตูให้เราไปเรียนรู้และทำความรู้จักท้องถิ่นเหล่านี้ กระจายความน่าค้นหาของประเทศไทยไปสู่พื้นที่ต่างๆ ตัวอย่างเช่น จ.แพร่ จะไม่ใช่เพียง “เมืองรอง” ที่รอคอยนักท่องเที่ยว แต่จะกลายเป็น “เมืองหลวงสุราก้าวหน้า” จากความรุ่มรวยของสุราท้องถิ่น และเราไม่ได้เชื่อว่ามีแค่จังหวัดแพร่ แต่เรื่องราวของพืชพรรณ ภูมิปัญญา และความสร้างสรรค์ของท้องถิ่นยังมีแบบนี้อีกทั่วประเทศ สุราก้าวหน้า ประตูที่เปิดพวกเราไปค้นพบศักยภาพเหล่านี้

สุราก้าวหน้าช่วย ‘กระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย’

ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดเท่ากัน ประมาณ 400,000 ล้านบาท/ปี ประเทศญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการมากกว่า 20,000 ราย ในขณะที่ไทยแบ่งผลประโยชน์กันในผู้ประกอบการเพียง 7 รายใหญ่เท่านั้น นี่คือประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงการผูกขาดทางอำนาจของกลุ่มทุนในประเทศนี้ที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดไม่ให้หน่ออ่อนของเศรษฐกิจรากหญ้าได้เติบโต ถ้าเราสามารถกระจายผลประโยชน์จากมูลค่าทางเศรษฐกิจเหล่านี้ไปสู่รายย่อยเพียงแค่ 10% นั่นหมายถึงเม็ดเงินกว่า 40,000 ล้านบาทในแต่ละปีที่จะไปเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโต

สุราก้าวหน้า ช่วย ‘สร้างประเทศที่ไม่ผูกขาด’

พูดให้ถึงที่สุด สุราก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของผู้ผลิตสุรากับผู้ดื่มสุรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ถูกปลดปล่อย แต่คือสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพลังของประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ เอาชนะกลุ่มทุนผูกขาดได้ผ่านกลไกสภาตามระบอบประชาธิปไตย

ในปี 2021 แม้จะมีการระบาด ผับบาร์โดนสั่งปิด แต่ไทยยังทำรายได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สูงถึง 7.2 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2020 ทำรายได้ 7.3 แสนล้านบาท และปี 2019 อยู่ที่ 8.5 แสนล้านบาท ตัวเลขเหล่านี้ทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่า หากอุตสาหกรรมเหล้าไทยเปิดกว้างและเสรีกว่านี้ รายได้จากสุราไทยจะเพิ่มขึ้นไหม เพราะเชื่อว่ามีนักดื่มอีกมากมายทั้งไทยและต่างชาติที่พร้อมจะเปิดประสบการณ์ลิ้มลองเหล้าเบียร์สัญชาติไทยรสชาติใหม่ๆ นอกเหนือจากที่ตลาดมีอยู่ในตอนนี้

คุณเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าไหม?

“ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจํากัด มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นโรงงานเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิตจะต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี”

ข้อความข้างบนคือหนึ่งในกฎกระทรวงที่บัญญัติไว้ในเงื่อนไขการขออนุญาตผลิตสุรา 2560 ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี 2560 ที่หลายคนมองว่ากำหนดเกณฑ์ไม่คิดถึงผู้ประกอบการขนาดย่อยที่ไม่มีเงินทุนสูง และอีกแง่หนึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อ ‘กันเหนียว’ ให้กลุ่มนายทุนครองตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คุมตลาดได้เบ็ดเสร็จ ไม่ต่างจากปิดช่องทางรวยประชาชนคนอื่น

เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล อดีตคนทำคราฟต์เบียร์ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้โดยตรง เป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นปัญหานี้ และออกมาเดินหน้าผลักดัน ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ หรือ ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ให้ผ่านสภาเพื่อหวังจะเปิดช่องให้ประชาชนทั่วไปที่หลงใหลในรสชาติแอลกอฮอล์มีโอกาสนำความชอบส่วนตัวนี้มาพัฒนาต่อเป็นอาชีพ โดยไม่ต้องเจออุปสรรคเรื่องเงินทุนที่สูงไปนัก

แม้ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าฉบับนี้ จะเน้นไปที่การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการผลิต ‘สุรา’ โดยตรง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีแค่ผู้ผลิตรายย่อยได้ประโยชน์เท่านั้น การปลดล็อกสุราเสรียังช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในตลาด ได้ลิ้มรสเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลาย และถูกจริตตัวเองมากขึ้น

และนอกจากชาวแอลกอฮอล์เลิฟเวอร์แล้ว ผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เองก็จะได้ผลดีจากผลิตภัณฑ์สุราที่มีความหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน อุตสาหกรรมเหล้าไทยไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ยืนอย่างโดดเดี่ยว มันได้เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบจากเกษตรกร บรรจุภัณฑ์ การขนส่งและการคมนาคม การท่องเที่ยว ไปจนถึงร้านค้า ร้านโชห่วยต่างๆ และทุกหนทุกแห่งที่มันหยั่งรากไปถึง นั่นอาจหมายถึงมีคนตกงานน้อยลง ผู้คนมีรายได้เลี้ยงครอบครัวมากขึ้น

นั่นจึงทำให้ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าไม่ใช่แค่ต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการแอลกอฮอล์รายเล็ก แต่ยังสร้างความหวังให้กับอาชีพที่อยู่ใน Supply Chain ด้วย

แต่น่าเสียดายที่ดูเหมือนเส้นทางสู่ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนที่หวัง เพราะเพียงแค่วาระ 1 สภาก็มีมติส่งร่างฯ กลับไปให้ ครม.พิจารณาเป็นเวลา 60 วันก่อนรับหลักการ ทำให้ร่างสุราก้าวหน้าของก้าวไกลถูกส่งกลับไปดองอีกครั้ง หลังก่อนหน้าเพียง 1 สัปดาห์ก็ไม่ได้รับการพิจารณาเพราะสภาล่ม (อีกแล้ว)

แล้ว พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าไม่ดีอย่างไร ทำไมสภาจึงไม่เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายดังกล่าว The MATTER จะชวนไปดูข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ และร่างแก้ไขของก้าวไกล ว่าตัวกฎหมายฉบับใหม่นี้จะมาเปลี่ยนแปลง และทลายกำแพงใดที่ทำให้เหล่า ส.ส. (not all) ไม่เห็นด้วย
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี 2560

พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี 2560 เหมือนกฎหมายหลายๆ ฉบับที่จะมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย แต่ส่วนที่เราจะพุ่งเป้าไปคือเงื่อนไขในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตของผู้ประกอบการรายเล็ก

ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตสุราคือ มาตรา 153 ที่ระบุว่า “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุราไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง”

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า

คอนเซ็ปต์ของ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าหรือร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่พรรคก้าวไกลเสนอมาคือ “ปลดล็อกผลิตสุราเสรี ทลายการผูกขาดนายทุน” โดยรายละเอียดเนื้อหามีทั้งสิ้น 7 มาตรา เน้นไปที่การแก้ไขมาตรการ 153 ที่เป็นปัญหาโดยเฉพาะ ดังนี้

– เพิ่มคำว่า “การค้า” ลงในมาตรา 153 เพื่อเปิดให้ประชาชนสามารถผลิตสุราในครัวเรือนได้ จากเดิมคือ “ผู้ใดประสงค์จะผลิต สุรา หรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุราไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี….” เปลี่ยนเป็น “ผู้ใดจะประสงค์ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี…”

– ไม่กำหนดเกณฑ์ในการผลิตเหล้าเบียร์ ทั้งกำลังแรงคน และกำลังเครื่องจักร รวมถึงขั้นต่ำที่ต้องผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตรายย่อยเข้าถึงได้

– ในกรณีของการตั้งบริษัทเบียร์ ไม่กำหนดทุนจดทะเบียน ยกเว้นการกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย

ร่างแก้ไขของก้าวไกลระบุว่า การกำหนดเงื่อนไข แนวทางกฎบัติ และเกณฑ์การผลิตสุราที่ไม่เหมาะสมถือเป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชนเกินเหตุ เป็นการกีดกันประชาชนออกจากการประกอบอาชีพ ซึ่งขัดต่อมาตรา 40 ที่ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการประกอบอาชีพ จึงควรปรับกฎหมายให้เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

มีคำกล่าวว่า “สุราคือศิลปะ” มันเป็นพู่กันที่แต่งแต้มให้สังคมเต็มไปด้วยสีสันและความสุนทรีย์ แต่อีกแง่หนึ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่มีมูลค่าและสร้างรายได้มหาศาลในหลายประเทศ รวมถึงไทย

ในปี 2021 แม้จะมีการระบาด ผับบาร์โดนสั่งปิด แต่ไทยยังทำรายได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สูงถึง 7.2 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2020 ทำรายได้ 7.3 แสนล้านบาท และปี 2019 อยู่ที่ 8.5 แสนล้านบาท ตัวเลขเหล่านี้ทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่า หากอุตสาหกรรมเหล้าไทยเปิดกว้างและเสรีกว่านี้ รายได้จากสุราไทยจะเพิ่มขึ้นไหม เพราะเชื่อว่ามีนักดื่มอีกมากมายทั้งไทยและต่างชาติที่พร้อมจะเปิดประสบการณ์ลิ้มลองเหล้าเบียร์สัญชาติไทยรสชาติใหม่ๆ นอกเหนือจากที่ตลาดมีอยู่ในตอนนี้

สรุป

แต่น่าเสียดายที่ผ่านมา กฎหมายในประเทศเราไม่เปิดทางให้ผู้ประกอบการตัวเล็กตัวน้อยมีโอกาสได้แสดงฝีมือและพัฒนาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตัวเองขึ้นมา ทำให้เราสูญเสียสุรารสชาติดีที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น สูญเสียนักคราฟต์เบียร์ฝีมือดีที่ต้องหอบความฝันไปฝากไว้กับประเทศอื่น สูญเสียรายได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายที่หลากหลาย ส่วนเหล่าแอลกอฮอล์เลิฟเวอร์เองก็สูญเสียตัวเลือกดีๆ ในตลาดไปด้วย

แหล่งที่มา

https://www.sanook.com/

https://mydeedees.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2/





Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
video puisituhan.com
tutorial puisituhan.com
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5